ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง เราต้องเปลี่ยนแนวคิดของการรักษามะเร็ง
None
Author:FUDA
From:แนวคิดใหม่ของการรักษามะเร็ง
โรงพยาบาลมะเร็งมะเร็งฟูด้ากว่างโจว ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
บทเรียนจากโชคชะตาที่แตกต่างกัน
ผมเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับ ตรวจพบเนื้องอกที่ตับขวาหนึ่งก้อนเมื่อวันที่ 18 มกราคม ปี2549 แล้วได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทันที ผลตรวจทางพยาธิวิทยายืนยันว่าเป็นมะเร็งตับชนิดเซลล์กลายพันธ์จากเซลล์ท่อน้ำดี หลังจากการผ่าตัดต้องเข้ารับการรักษาด้วยคีโม หลายคนบอกให้รักษาตามปกติ คือ การรักษาด้วยการทำคีโมและการฉายรังสี แต่ผมปฏิเสธและเข้ารับการรักษาด้วยสร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะเวลายาวแทน
ผมมีเพื่อนสองคนเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันกับผม ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดซึงการผ่าตัดก็ประสบความสำเร็จเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นประธานของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในมณฑลเหอหนาน เขาได้เข้ารับการรักษาด้วยคีโมและฉายแสงหลังจากการผ่าตัด หลังจากนั้น 4 เดือน เนื้องอกโผล่ ขึ้นมาที่ตับอีกครั้งและแพร่กระจายไปยังปอดและกระดูก เนื้องอกกดทับเส้นประสาทไขสันหลังทำให้เขามีอาการปวดอย่างรุนแรง ต่อมาเขาได้เข้ารับการรักษาแบบองค์รวม อาการปวดทุเลาลงแต่ก็ไม่หาย สุดท้ายก็เสียชีวิตลงด้วยภาวะตับล้มเหลว อีกคนหนึ่งเป็นพี่ใหญ่จากมณทลซานตง เธอได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่เมืองเซี่ยงไฮ้ หลังจากนั้นได้เข้ารับการรักษาด้วยคีโมและฉายรังสีเพื่อควบคุมอาการให้ดีขึ้น แต่ในช่วงเวลาให้คีโมนั้น มะเร็งของเธอแพร่กระจายไปยังปอดและกระดูก มีอาการตัวเหลือง เลือดออก เลือดจาง เมื่อมารักษาที่กว่างโจว เราก็ไม่สามารถทำการรักษาให้เธอได้แล้วนอกจากรักษาตามอาการ ซึ่งเพื่อนสองคนนี้รอดชีวิตได้ไม่ถึง 1 ปี
ป่วยเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน แต่ทำไมผมโชคดีจังที่รอดชีวิตได้ถึง 7 ปีกว่า แต่เพื่อนสองคนนั้นกลับรอดชีวิตได้ไม่ถึง 1 ปี
เพื่อนที่เป็นประธานของบริษัทมหาชนคนนั้นเคยพูดกับผมว่าคุณรักษามะเร็งของคุณแบบ “แฮนด์เมด”แต่ผมเข้ารับการรักษาแบบกระบวนการทั่วไป สามีของพีใหญ่จากมณทลซานตงพูดว่า หลังการผ่าตัดคุณหมอแนะนำให้ทำการรักษาหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทำคีโมหรือการฉายรังสี และเราก็เชื่อว่าการรักษานั้นยิ่งมากยิ่งดี ก็เลยทำตามคำแนะนำ สุดท้ายพวกเขาก็มาพูดกับผมอย่างเสียใจว่า “หากผมรักษาตามคุณ ทุกอย่างก็น่าจะดีกว่านี้”
คำพูดของพวกเขานั้นอาจไม่ถูกไปซะทีเดียวแต่บทเรียนนี้สอนให้รู้ว่า เราต้องเปลี่ยนแนวคิดของการรักษามะเร็ง และอันที่จริง การทำคีโมและฉายรังสีก็ไม่ค่อยได้ผลกับมะเร็งท่อน้ำดีสักเท่าไร ดังนั้นถึงแม้ถ้าผมรักษาตามทั่วไปและหมั่นทำตามคำแนะนำแต่ก็จะต้องทรมานกับผลข้างเคียงอยู่ดี และผมก็คงจากโลกนี้ไปเหมือนเพื่อนของผม
เผชิญหน้าการท้าทาย
ความท้าทายที่ต้องเผชิญในการรักษาโรคมะเร็ง ข้อที่ 1 แม้ว่าการผ่าตัดเป็นวิธีการหลักที่รักษามะเร็งให้หายขาด แต่การรักษาให้หายขาดนั้นไม่ได้หมายความว่า “หายขาดแล้ว” เพื่อนที่เป็นมะเร็งทั้งสองคนของผมที่กล่าวข้างต้นได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้หายขาดแต่หลังจากการผ่าตัดไม่นานก็กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำและยังแพร่กระจายไปทั่ว ที่ว่าอัตราการรอดชีวิตได้ 5 ปีมีถึง 50% หรือ 60% แล้วอีก 50% หรือ 40% ล่ะ? ข้อที่ 2 เวลาผู้ป่วยตรวจเจอมะเร็ง ร้อยละ 70 นั้นจะไม่สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้แล้ว สำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ ควรรักษาอย่างไร? จะยังสามารถยืดชีวิตของพวกเขาได้ไหม? ข้อที่ 3 การทำคีโมและฉายรังสีเป็นวิธีการรักษามะเร็งทั่วไป แต่ส่วนมากก็ไม่สามารถยืดอายุของผู้ป่วยได้อยู่ดี
ทำไมมะเร็งถูกผ่าตัดออกหมดทั้งก้อนแล้วมันยังสามารถกลับเป็นซ้ำได้? เพราะว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่อยู่ทั่วร่างกาย เนื้องอกเป็นแค่ส่วนหนึ่งของมะเร็งเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น เซลล์มะเร็งก็อาจอยู่ในกระแสเลือดและไขกระดูก เซลล์มะเร็งเหล่านี้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง(Cancer stem cell)อยู่ในสภาพ“นอนหลับ”พอมีโอกาสก็“ตื่น”ขึ้นมาและเจริญเติบโตเป็นเนื้องอกก้อนใหม่ มันคือการแพร่กระจาย ซึ่งมะเร็งแพร่กระจายนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
การรักษาด้วยคีโมคือการฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยพิษของยาเคมี โรคร้ายบางโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองต้องรักษาด้วยการทำคีโม
แต่มะเร็งที่รักษาด้วยคีโมแล้วหายขาดมีน้อยมาก ประเมินว่ามีเพียง 7% เท่านั้น และได้ผลกับมะเร็งชนิดอื่นๆเพียง 15% ของโรคมะเร็งทั้งหมดเท่านั้น ผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากรักษาด้วยการทำคีโม แต่วิธีการรักษานี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหนล่ะ? ซุนเยี่ยน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัดประเทศจีนกล่าวว่า คีโมและการฉายรังสีไม่สามารถรักษามะเร็งทุกชนิดได้ กลับยังเพิ่มความทรมานให้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังในการให้การรักษาด้วยคีโม การทำคีโมนั้น ต้องทำให้เหมาะสม ไม่ควรทำมากเกินไป ทาง จาวหยิว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งกล่าวว่า การรักษาด้วยคีโมเป็นดาบสองคม หลังจากคีโมแล้วเซลล์มะเร็งจะดื้อยาได้ และอาจเพิ่มระดับความร้ายแรงมากขึ้น รุนรามและแพร่กระจาย การรักษาระดับโมเลกุลในปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็น“กระสุนพิเศษ” ที่รักษาได้ในระดับโมเลกุล แต่มันก็สามารถทำให้เซลล์มะเร็งที่หลงเหลือรุกรามและแพร่กระจายได้เหมือนกัน
ปัญหาของปัจจุบันนี้คือมีการใช้คีโมมากเกินไป กรณีที่ไม่ควรทำคีโมก็สั่งทำคีโม จากการสำรวจของคณะการแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด(Harvard University)ประเทศอเมริกาในปี 1993 ปรากฏว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 10% ก่อนเสียชีวิต 2 อาทิตย์ก็ยังเข้ารับการรักษาด้วยคีโมอยู่ ต่อมาถึงปี 1999 จำนวนนี้เพิ่มขึ้นถึง 12% จากข้อมูลสถิติอย่างไม่เป็นทางการของประเทศจีนปรากฏว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 15% เสียชีวิตเร็วขึ้นจากการคีโมที่มากเกินและไม่เหมาะสม
กลยุทธ์ใหม่
องค์การอนามัยโลกประกาศว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้นั้นหลังจากเข้ารับการรักษาแบบองค์รวมแล้วสามารถยืดชีวิตได้ การรักษาด้วยวิธีการสลายและการรักษาด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
การรักษาด้วยวิธีการสลายคือเจาะเข็มความเย็นหรือความร้อนเข้ายังเนื้องอกด้วยการนำทางของอัลตร้าซาวด์หรือ CT-Scan แล้วฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยความเย็นหรือความร้อน เทคนิคการรักษาด้วยความเย็นนั้นเริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ในการรักษาอุณหภูมิจะลดลงเฉพาะบริเวณหัวเข็ม เพราะฉะนั้นมันจะทำลายที่เนื้องอกเท่านั้นและจะไม่ทำให้เนื้อเยื่ออื่นๆเสียหาย
การรักษาสลายด้วยความเย็นนั้นส่วนมากใช้ในการรักษากำจัดมะเร็งที่ผ่าตัดไม่ได้ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ เป็นต้น หากเนื้องอกขนาดเล็กรักษาด้วยความเย็นจะได้ผลเหมือนการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยสูง การทำงานของหัวใจ ปอด ตับไม่ดี ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นยิ่งเหมาะกับการรักษาด้วยความเย็น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งก้อนใหญ่ การรักษาด้วยความเย็นนั้นสามารถลดขนาดของก้อนมะเร็งให้เล็กลง ซึ่งสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้
เวลาทำการรักษาใช้ความเย็นหรือความร้อนในการสลายนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ที่ทำการรักษา จากประสบการณ์ของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหมื่นกว่ารายของโรงพยาบาลเรา เราแนะนำการรักษาด้วยความเย็นด้วยเหตุผล 1.การสลายด้วยความเย็นรักษาทั้งมะเร็งขนาดเล็กและมะเร็งขนาดใหญ่ได้ 2. ความเย็นไม่ทำลายหลอดเลือดใหญ่ หลอดลม เพราะฉะนั้นเนื้องอกที่ใกล้หลอดเลือดใหญ่ หลอดลมนั้นสามารรักษาด้วยความเย็นได้ 3.ความเย็นทำให้อาการปวดน้อยลง ความเย็นแก้ปวดได้ 4.เซลล์มะเร็งที่ตายจากความเย็นนั้นจะปล่อยสารแอนติเจน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับมะเร็ง จากการรักษาปรากฏว่าเนื้องอกหลังจากถูกความเย็นทำลายแล้ว ส่วนที่หลงเหลือจะหายไปด้วย นี่คือผลของความเย็นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
การรักษาสร้างภูมิคุ้มกันคือการเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ภูมิคุ้มกันในทั่วร่างกาย เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่ตกค้างหรือหลบในร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียง “นิตยสารการแพทย์อังกฤษฉบับใหม่”นิตยสารขึ้นชื่อทั่วโลกในปี 2008 รายงานว่า ผู้ป่วยอเมริกาเพศชายวัย 52 ปี เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ที่กลับมาเป็นซ้ำและกระจายไปยังปอดขวา เยื่อหุ้มปอด กระดูกเชิงกรานส่วนขวา บริเวณขาหนีบ วิธีการรักษาต่างๆไม่ได้ผลทั้งหมด ผู้เขียนได้ทำการสกัดเซลล์ภูมิคุ้มกันจากกระแสเลือดผู้ป่วยหลังจากนั้นกระตุ้น T cell ด้วยแอนติเจนพิเศษแล้วฉีดกลับสู่ร่างกายของผู้ป่วย หลังจากนั้นผ่านไป 2 เดือน มะเร็งในปอดและมะเร็งที่แพร่กระจายหายไปหมด หลังจากผ่านไป 26 เดือนผลตรวจไม่พบการกลับมาเป็นซ้ำ ผู้เขียนเคยรักษาผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาท่านหนึ่งด้วยวิธีการสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยท่านนี้รอดชีวิตได้ 13 ปี ซึ่งรอดชีวิตได้เวลานานกว่าผู้ป่วยอเมริกาที่กล่าวข้างบน
ปัจจุบันนี้มีความเห็นว่าวิธีการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันนั้นสามารถรักษามะเร็งหายขาดได้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ควรปฎิบัติตามดังนี้ 1.ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยสร้างภูมิคุ้มกันต้องเข้ารับการตรวจเซลล์ภูมิคุ้มกันและไซโตไคน์(Cytokines)เพื่อเลือกวิธีการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม 2. ต้องเข้ารับการรักษาด้วยคีโมระยะสั้น โดยใช้ยาไซโคลฟอสฟาไมด์(cyclophosphamide)ปริมาณน้อยอย่างน้อย1-2 ครั้ง เพราะในกระแสเลือดมี T cell สามารถปรับและยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดที่ทำลายเซลล์มะเร็ง การให้คีโมนั้นสามารถฆ่าเซลล์เหล่านี้ได้ 3.ต้องใช้วิธีการหลายวิธีพร้อมกันหรือใช้วิธีการตามลำดับในการรักษา เพราะเซลล์มะเร็งมีหลากหลายชนิด ยินส์ของเซลล์มะเร็งไม่มั่นคง เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอด เพราะฉะนั้นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ต่อสู้กับเซลล์มะเร็งนั้นต้องมีปริมาณมากมายและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ 4.ต้องทำการรักษาในระยะเวลายาว
แนวคิดใหม่
โรคมะเร็งเป็น “โรคเรื้อรัง” การฆ่าเซลล์มะเร็งให้หมดทุกเซลล์นั้นเป็นไปไม่ได้ การตัดเนื้องอกเฉพาะส่วนออกนั้นยังไม่พอ เป้าหมายของการรักษาคือยืดชีวิตให้ผู้ป่วย เพราะฉะนั้น ข้อแรก หลังจากการผ่าตัดแล้วต้องป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงหยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มองโลกในแง่ดี รักษาอาการอักเสบ รับประทานผักผลไม้มากๆ คอยตรวจและเฝ้าระวังสภาพของภูมิคุ้มกัน ปรับแก้ไขเวลาเกิดความผิดปกติ ข้อที่สอง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้นั้น สามารถใช้เทคนิคการรักษาด้วยความเย็นเพื่อลดขนาดและปริมาณเนื้องอกพร้อมรักษาทั่วร่ายกาย เช่น การให้คีโมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ตอบสนอง การรักษาสร้างภูมิคัมกัน ข้อที่สามสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย ไม่ควรฝากความหวังไว้กับยาตัวเดียว วิธีการรักษาวิธีเดียวหรือหมอของแผนกเดียว ต้องรักษาตามอาการของแต่ละบุคคลด้วยวิธีการต่างๆ ข้อที่สี่ การรักษาต่างๆนั้นต้องเหมาะสมพอดี สมาคมมะเร็งของประเทศอเมริกาประกาศว่า สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การรักษาตามอาการสามารถยืดชีวิตได้ แต่คีโมยืดชีวิตไม่ได้
ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด ตามประสบการณ์ของเรา คือ 1.รักษาด้วยความเย็นโดยใช้ CT หรืออัลตร้าซาวด์ในการนำทาง 2.หากผู้ป่วยไม่เคยรักษาด้วยคีโมและวิเคราะห์ว่าผู้ป่วยเหมาะต่อคีโม จะแนะนำการรักษาด้วยคีโมก่อนหรือหลังเข้ารับการรักษาด้วยความเย็น 3.ตรวจยีน หากผลตรวจมีข้อบ่งชี้แน่ชัด ให้รักษาระดับโมเลกุล 4.หากผู้ป่วยเคยรักษาด้วยคีโมแล้ว สามารถเข้ารับการรักษาโดยการแทรกแซงหลอดเลือด(การฉีดยาคีโมเข้าเฉพาะจุด การอุดเส้นเลือด การฉีดยาเข้ายังเส้นเลือดฝอยของเนื้องอกโดยตรง)5.รักษาโดยการสร้างภูมิคุ้มกันมะเร็งเรื้อรังหรือกลับเป็นซ้ำได้
เราใช้การรักษาด้วยความเย็น (CSA) การรักษาโดยแทรกแซงเส้นเลือดฝอยเนื้องอก (CMI)การรักษาสร้างภูมิคุ้มกันแบบองค์รวม (CIC)ร่วมกับรักษาตามอาการของแต่ละบุคคล(P)นี่คือรูปแบบกรรักษา“3C+P” ประสบการณ์จากการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหมื่นกว่ารายนั้นแสดงว่า รูปแบบกรรักษา“3C+P” สามารถช่วย 70% ของผู้ป่วยมะเร็งระยะกลาง ระยะสุดท้ายรวมถึงผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการทั่วไปแล้วไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำให้อาการดีขึ้น ยืดชีวิต และรักษาผู้ป่วยบางส่วนให้ใกล้หายขาดได้อีกด้วย สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนกลาง มะเร็งตับก้อนใหญ่นั้นก็ได้ผลดีเหมือนกัน มะเร็งตับอ่อนเป็นเนื้อร้ายที่แพร่กระจายเร็วสุด จากการบันทึกของโลกระบุว่าผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยผ่าตัดนั้น อัตราการรอดชีวิตใน 1 ปีน้อยกว่า10% ซึ่งรอดชีวิตได้ 3-6 เดือนด้วยสภาพมะเร็งไม่เรื้อรัง แต่ผู้ป่วยจำนวน 300 กว่าท่านของเราหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยรูปแบบ“3C+P” แล้วอัตราการรอดชีวิตได้ 1 ปี มีถึง 60% และ อัตราการรอดชีวิตได้ 3 ปี มีถึง 15% อีกทั้งผู้ป่วยบางท่านยังรอดชีวิตได้ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองในการประชุมสากลด้านการแพทย์อุณหภูมิต่ำที่จัดขึ้นในเมืองโตเกียวเมี่อปี 2008 และในเมืองเวียนนาเมื่อปี 2011
ตอนส่งท้าย
ผู้เขี่ยวชาญโรคมะเร็งชาวอเมริกาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า การรักษามะเร็งในอนาคตจะต้องอาศัยการรักษาตามอาการแต่ละบุคคล ซึ่งต้องเปลี่ยนระบบการแพทย์ของเรา ไม่ใช่ใช้วิธีรักษาวิธีเดียวรักษาผู้ป่วยทุกคน ต้องรักษาตามอาการของแต่ละบุคคลด้วยวิธีการรักษาที่เหมาะสมหรือวิธีการหลายวิธีร่วมกัน นี่คือความหวังของการรักษามะเร็งให้หายขาด
ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ผมปรารถนาจะรักษาผู้ป่วยด้วยความรู้ที่ถูกต้อง ให้เกิดผลดีที่สุด และยืดชีวิตของผู้ป่วยได้ ในฐานะผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผมปรารถนาให้แพทย์ของเรารักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีที่สุด ให้เจ็บน้อยทีสุด ให้รอดชีวิตได้นานที่สุด หมอมะเร็งส่วนมากเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี ผมเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เป็นหนึ่งในนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งของเราได้รับผลที่ดีจริงๆ ผมหวังว่าการแพทย์ปัจจุบันจะมีการปฏิรูป ซึ่งไม่เพียงแต่รับประกันให้ผู้ป่วยได้รักษาตามมาตรฐานและสามารถเข้าถึงได้ ยังผลักดันให้หมอทุกคนตั้งใจประเมินคุณค่าที่แท้จริงของวิธีการรักษาต่างๆอีกด้วย
ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
เขียนวันที่ 12 พฤษภาคม ปี 2013
ผู้เขียน ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจว ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและด้านการรักษามะเร็ง หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญของแผนกมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ ประธานของสมาคมการฟื้นฟูจากโรคมะเร็ง--แสงสว่างแห่งชีวิตของมณฑลกวางตุ้ง ผู้ก่อตั้งสำนักงานสวีเค่อเฉิงดูแลสุขภาพแห่งมณฑลกวางตุ้ง ผู้อํานวยการกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิจัยชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยจี้หนาน รองประธานรุ่นที่สองของสามาคมการแพทย์แห่งมณฑลกวางตุ้ง ผู้ได้รับรางวัล "Bethune "รางวัลเกียรติยศสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุขแห่งชาติในปี 2012 เป็น "บุคคลต้นแบบแห่งยุค" ในปี 2014 ประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมการรักษาด้วยความเย็นสากล เป็นนิติบุคคล และประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมการรักษาด้วยความเย็นเอเชีย ได้รับรางวัลด้านการแพทย์ความเย็นสากลหลายครั้ง ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้มีส่วนร่วมชั้นนำของโลกด้านการรักษาด้วยความเย็น” โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นผลงานดีเด่นระดับโลกในด้านเทคโนโลยีการรักษาด้วยความเย็น
ปรึกษาโรคมะเร็ง
หากคุณต้องการทราบว่าผู้ป่วยเหมาะสำหรับการรักษาแบบบาดแผลเล็กหรือไม่ (การรักษาด้วยความเย็น การรักษาด้วยมีดนาโน การรักษาเฉพาะจุดแบบอุดตันเส้นเลือด ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการรักษา กรุณากรอกข้อมูลผู้ป่วย เพื่อรับคำแนะนำจากทีมแพทย์มะเร็งผู้เชี่ยวชาญของเรา
- คีโมเฉพาะจุด ความหวังใหม่ในการรักษามะเร็งหลายชนิด!
ตัวยาเข้มข้น คีโม 1-2 ครั้ง เทียบเท่าคีโมปกติถึง 5-6 เท่า ทำลายเซลล์มะเร็งเท่านั้น แตกต่างจากคีโมแบบปกติที่ส่งผลทั้งตัว ทำลายเซลล์ทั้งหมดไม่ว่าดีหรือร้าย
✅แม่นยำ
✅แผลเล็ก
✅ฟื้นตัวไว
✅ประสิทธิภาพสูง - ผู้ป่วยมะเร็งไตระยะสุดท้าย เหลือไตเพียงข้างเดียว เข้ารับการรักษาด้วยความเย็น อยู่รอดมานานกว่า 11 ปี.
ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยการผ่าตัดและยามุ่งเป้ามาก่อน ด้วยผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยจึงตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยความเย็นกับทางโรงพยาบาลฟูด้ากว่างโจว - อาม่าชาวไทยวัย 86 ปี (มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง) พบเนื้องอกที่ปอดซ้ายระหว่างการตรวจสุขภาพ
แพทย์ท้องถิ่นไม่กล้าทำการเจาะชิ้นเนื้อเนื่องจากอายุที่มากและมีโรคประจำตัว ญาติจึงพาผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลของเรา ทีมแพทย์ได้ทำการเจาะเข็มผ่านผนังอกเพื่อทำลายเนื้องอกด้วยความเย็นพร้อมเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจ
เทคนิคการรักษาด้วยความเย็น เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
- ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
- หัวหน้าแพทย์
- หัวหน้าแพทย์อาจารย์ให้คำปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก
- ศ.นพ.หนิวลี่จื้อ
- หัวหน้าแพทย์
- รองผู้อำนวยการของโรงพยาบาล
- ประธานโรงพยาบาลฟูด้า
- ศ.นพ.เจิงจงยวน หัวหน้าแพทย์
- หัวหน้าแพทย์
- ศาสตราจารย์
- ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับทุนพิเศษจากสภาแห่งรัฐ
- รอง ศ.นพ.เผียวเชี่ยงฮ่าว
- รองศาสตราจารย์
- ผู้อำนวยการบำบัด
- ผู้เชี่ยวชาญจบการรักษาแบบเปิดแผลเล็กจากญี่ปุ่น
- นพ.หลิวซู่เผิง
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- นพ.หลงซินอัน
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หัวหน้าเทคนิคการแพทย์ หลี่หลงหลง
- หัวหน้าเทคนิคการแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค
เบอร์ติดต่อ: 081-580-3998
-
คุณสุวัฒน์ จากประเทศไทยผู้ป่วยมะเร็งปอด รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 6 ปี
-
คุณกัวหลิน จากประเทศเดนมาร์กผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย
-
คุณ Shelly Mahara จากประเทศอินโดนีเซียผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 14 ปี
-
คุณ Amy จากประเทศฮ่องกงผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 10 ปี
- 11 / 112024เกียรติยศระดับชาติ! ฟูด้าได้รับรางวัล “Little Giant”
- 10 / 242024การประชุมวิชาการด้านการรักษามะเร็งด้วยการสลายเนื้องอกแห่งเอเชียครั้งที่ 10 | ศาสตราจารย์หนิว ลี่จื้อ และทีมได้รับรางวัลการนำเสนอดีเด่น
- 10 / 112024ความก้าวหน้าในการรักษาด้วยมีดนาโน (NanoKnife Ablation) สำหรับมะเร็งท่อน้ำดีในขั้วตับ (Hilar Cholangiocarcinoma)
-
โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
-
โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
-
ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
-
ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ