จุดเปลี่ยนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ลามไปตับ เมื่อคีโมเฉพาะจุดและการจี้เย็น คือความหวังใหม่!
None
Author:FUDA
From:
การผสมผสานระหว่างการรักษาแบบเฉพาะทางแบบบูรณาการ(MDT) ช่วยต่อสู้กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ลุกลามไปยังตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในร่างกายมนุษย์ มีทางลัดเชื่อมระหว่างลำไส้และตับที่เรียกว่า “หลอดเลือดดำพอร์ทัล” (Portal Vein) ซึ่งโดยปกติเป็นเส้นทางที่ลำไส้ส่งสารอาหารไปยังตับเพื่อการเผาผลาญและเก็บสะสม แต่หากมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ลำไส้ ทางลัดนี้ก็อาจกลายเป็น “ทางด่วน” สำหรับเซลล์มะเร็งในการแพร่กระจายไปยังตับได้
ตรวจสุขภาพเจอรอยโรคในตับ กลับกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลาม
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 คุณลุงหวัง (นามสมมติ) วัย 50 กว่าปี ตรวจสุขภาพแล้วพบรอยโรคในตับ แพทย์สงสัยว่าเป็นก้อนเนื้องอก เมื่อทำการตรวจเพิ่มเติม แพทย์ท้องถิ่นสันนิษฐานว่าไม่ใช่มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ แต่อาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แพร่กระจายมายังตับ ผลการส่องกล้องลำไส้ใหญ่พบก้อนเนื้อขนาด 3×3 ซม. ห่างจากทวารหนักประมาณ 18 ซม. และผลชิ้นเนื้อยืนยันว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (sigmoid colon)
ตับเป็นอวัยวะที่พบการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยที่สุด เนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดจากลำไส้ใหญ่ไหลเข้าสู่ตับโดยตรงทางหลอดเลือดดำพอร์ทัล จึงทำให้มีโอกาสแพร่กระจายสูง โดยพบว่า 15-25% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีการแพร่กระจายไปตับตั้งแต่แรกวินิจฉัย และอีก 15-25% จะเกิดการแพร่กระจายไปยังตับภายหลังการผ่าตัดรักษาก้อนเนื้อบริเวณลำไส้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ หรือมีเพียงอาการเล็กน้อย เช่น ถ่ายเป็นเลือด หรือมีความผิดปกติของระบบขับถ่าย จึงมักถูกมองข้าม คุณลุงหวังก็เช่นเดียวกัน เขามีอาการถ่ายอุจจาระไม่เป็นก้อนและถ่ายดำเป็นพัก ๆ แต่เนื่องจากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เขาจึงไม่ได้ใส่ใจมากนัก คาดไม่ถึงว่าเมื่อเข้ารับการตรวจจึงพบว่าเป็นมะเร็ง!
มองหาแนวทางใหม่เพื่อลดความเจ็บปวดจากการรักษา
การให้เคมีบำบัดตามด้วยการผ่าตัด เป็นแนวทางการรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่นแนะนำ คุณลุงหวังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยมีการใช้ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ร่วมด้วย ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีเสถียรภาพ ทุกอย่างเป็นไปตามแผน
ในเดือนมีนาคม ปี 2022 คุณลุงหวังเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ได้แก่ การผ่าตัดลำไส้ตรงแบบตัดออกทั้งหมด (Total Mesorectal Excision - TME), การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง (Abdominal Lymphadenectomy), และการผ่าตัดตัดก้อนมะเร็งในตับ (Hepatic Tumor Resection) ภายหลังการผ่าตัด ผลพยาธิวิทยาระบุว่า มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อมชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Metastatic Adenocarcinoma) ไปยังตับหลายตำแหน่ง ได้แก่ ตับส่วน S4, S5, กลีบกลางของตับ, กลีบซ้ายด้านนอก และกลีบหางของตับ โดยระดับการตอบสนองของเนื้องอก (Tumor Regression Grade: TRG) อยู่ที่ระดับ 2 ซึ่งหมายถึงการตอบสนองบางส่วน ยังพบเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ แม้จะมีการหดตัวของก้อนมะเร็งอย่างชัดเจน
เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น ภายหลังการผ่าตัดคุณลุงหวังยังได้รับเคมีบำบัดร่วมกับยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้าต่อเนื่องในระยะรักษาแบบคงสภาพ (Maintenance Therapy) อย่างไรก็ตาม ในการตรวจติดตามผลเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2023 พบว่ามีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้นใหม่ในตับ จึงได้รับการรักษาด้วยวิธีแทรกแซงทางตับ (Hepatic Interventional Therapy) ณ โรงพยาบาลท้องถิ่น “เจ็บมาก!” นั่นคือความรู้สึกของคุณลุงหวังต่อการรักษาดังกล่าว ซึ่งเขาเองก็มีความไวต่อความเจ็บปวดเป็นทุนเดิม ทำให้ไม่พึงพอใจกับการรักษานี้มากนัก ตามคำแนะนำของแพทย์ในพื้นที่ เขาจึงได้รับการรักษาด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัดร่วมกับยาต้านมะเร็งแบบจำเพาะ (Immuno-targeted Therapy)
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตรวจติดตามในอีกหนึ่งปีต่อมา พบว่าก้อนมะเร็งในตับมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยังตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งในบริเวณหลอดเลือดดำตับ (Porta Hepatis) ด้วย คุณลุงหวังไม่ต้องการกลับไปใช้ยาเคมีบำบัดหรือเปลี่ยนยาอีกต่อไป จึงเริ่มค้นหาวิธีการรักษาอื่นที่อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ หลังจากสอบถามและปรึกษาจากหลายแห่ง ในที่สุดเขาก็เดินทางมาที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า เมืองกวางโจว และเข้ารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรมมะเร็งที่ 4 ในเดือนกันยายน ปี 2024
พหุสาขาช่วยวางแผนรักษาแบบบูรณาการ
เมื่อเข้ารับการรักษา พบว่าคุณลุงหวังมีรอยโรคมะเร็งแพร่กระจายขนาดใหญ่ที่กลีบขวาของตับ ขนาดประมาณ 7.4 × 6.7 × 9.2 เซนติเมตร และมีต่อมน้ำเหลืองหลายแห่งโตบริเวณหลอดเลือดดำตับและหลังช่องท้อง แพทย์ผู้ดูแลจึงรีบจัดการประชุมทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ (MDT) และได้วางแผนการรักษาเบื้องต้นโดยเริ่มจากการให้เคมีบำบัดเฉพาะที่ (TAI, Transcatheter Arterial Infusion Chemotherapy) ผ่านทางหลอดเลือดร่วมกับการอุดหลอดเลือดเลี้ยงก้อนมะเร็ง(TAE, Transcatheter Arterial Embolization ) เพื่อลดการไหลเวียนเลือดที่เลี้ยงก้อนและช่วยลดขนาดของเนื้องอก ก่อนดำเนินการรักษาต่อด้วยการจี้เย็น (Cryoablation) เพื่อควบคุมการลุกลามของโรคและบรรเทาภาระของร่างกายจากก้อนมะเร็ง

เมื่อแพทย์เจ้าของไข้ พญ. พัง เสี่ยวหมิง แจ้งว่าจำเป็นต้องใช้การรักษาแบบแทรกแซง (Interventional Therapy) คุณลุงหวังปฏิเสธทันทีโดยไม่ลังเล “ครั้งก่อนที่ทำการแทรกแซง เจ็บปวดอย่างรุนแรง” เขากล่าวด้วยความกังวลว่าจะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดแบบเดิมอีกครั้ง จึงไม่กล้าตัดสินใจลองรักษาวิธีนี้ซ้ำ แต่หลังจากได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดและการปลอบใจด้วยความอดทนจาก พญ. พัง เขาจึงตัดสินใจลองอีกครั้ง ใน กระบวนการรักษา แพทย์ได้ฉีดยาชาเข้าสู่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ (Femoral Artery) และสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านทางหลอดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนเนื้องอกโดยเฉพาะ โดยใช้การนำทางหาตำแหน่งภายใต้การถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดแบบดิจิทัล (Digital Subtraction Angiography – DSA)
จากนั้นอุดหลอดเลือดเลี้ยงก้อนมะเร็ง (TAE) พร้อมฉีดคีโมบำบัดเฉพาะจุด (TAI) ผ่านทางหลอดเลือดร่วมกับการ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและตัดแหล่งเลือดที่หล่อเลี้ยงก้อนเนื้องอก ส่งผลให้เซลล์มะเร็งตายจากทั้งการขาดเลือดและฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดเข้มข้น หลังจากนั้น แพทย์ได้วางปลายสายสวนขนาดเล็กไว้ที่หลอดเลือดแดงตับหลัก เพื่อให้สามารถให้ยาเคมีบำบัดต่อเนื่องได้เมื่อกลับไปยังหอผู้ป่วย

วิธีการรักษานี้สามารถหลีกเลี่ยงข้อเสียของการให้เคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนปลายแบบระบบ (Systemic Chemotherapy via Peripheral Vein) ซึ่งมักทำให้ความเข้มข้นของยาเคมีบำบัดในร่างกายเจือจางทั่วร่างกาย และลดปัญหาที่เกิดจาก “First-pass effect” ของตับ คือภาวะที่ยาถูกเผาผลาญในเยื่อบุลำไส้และตับก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ปริมาณยาที่ออกฤทธิ์จริงในร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังช่วยลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัดแบบทั่วร่าง การรักษาด้วยวิธีแทรกแซงนี้มีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ความเจ็บปวดและการบาดเจ็บต่อร่างกายน้อย ระยะเวลารักษาสั้น ฟื้นตัวเร็ว และสามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง
“รู้สึกดีมาก! แทบไม่รู้สึกอะไรเลย กิน นอน ใช้ชีวิตได้ตามปกติ” คุณลุงหวังกล่าว หลังจากเข้ารับการรักษาแบบแทรกแซงได้หนึ่งสัปดาห์ เขาได้รับการรักษาด้วย การจี้เย็นตับ(Cryoablation) เพื่อทำลายก้อนมะเร็ง และหลังการผ่าตัดก็ยังคงได้รับการรักษาแบบผสมผสานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้า ภูมิคุ้มกันบำบัดและเคมีบำบัด ในการตรวจติดตามผลเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ พบว่ารอยโรคมะเร็งในตับที่แพร่กระจายมีขนาดเล็กลง และความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลดลงอย่างชัดเจน แต่กลับพบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งบริเวณหลังช่องท้องที่มีจำนวนและขนาดเพิ่มขึ้น ทำให้คุณลุงหวังต้องกลับมารักษาที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้าอีกครั้ง

“ครั้งนี้ผมเข้ารับการรักษาด้วยการฝังแร่ไอโอดีน-125 (Brachytherapy Iodine-125)” คุณลุงหวังกล่าว แม้ว่าเขาไม่เคยได้ยินหรือรู้จักการรักษานี้มาก่อน แต่ด้วยประสบการณ์การรักษาที่ดีในครั้งก่อน ทำให้เขาตัดสินใจกลับมารักษาที่โรงพยาบาลฟูด้าอีกโดยไม่ลังเล “ก่อนการรักษา บุคลากรทางการแพทย์อธิบายให้เราฟังอย่างชัดเจนว่าเป็นการรักษาแบบใด และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง” เขากล่าว พร้อมความคาดหวังว่าการรักษาครั้งนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น


ความรู้สุขภาพเพิ่มเติม: ป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน
มีคำกล่าวว่า “โรคมาจากปาก” มะเร็งลำไส้ (Colon Cancer) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่โรคนี้ และยังได้รับการขนานนามว่า “มะเร็งที่กินเข้าไป” ระหว่างการสนทนา คุณลุงหวังบอกกับเราว่า เขาชอบกินเนื้อ เค็ม และเผ็ด แม้ในระหว่างการรักษา เขาก็ไม่ได้ระมัดระวังเรื่องอาหารมากนัก ข้อมูลจำนวนมากในปัจจุบันยืนยันว่าการเกิดมะเร็งลำไส้มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารโดยตรง เช่น
1. ขาดเนื้อไม่ได้: โดยเฉพาะการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป พร้อมกับการรับประทานผักและผลไม้น้อย การรับประทานอาหารที่มี ไขมันสูง, โปรตีนสูง, และใยอาหารต่ำ จะทำให้เกิดสารพิษในร่างกายจำนวนมาก ซึ่งจะกระตุ้นเยื่อบุลำไส้ซ้ำๆ และอาจกระตุ้นการเกิดมะเร็งลำไส้
2. รสจัด: ชื่นชอบรสจัด เช่น เผ็ด, เค็ม, เปรี้ยว, มัน, การทอด, การย่าง, การรมควัน และการอบ และมีนิสัยทานอาหารมื้อดึก ทำให้กระเพาะและลำไส้ต้องทำงานหนักในช่วงเวลาพักผ่อน ซึ่งจะเพิ่มภาระให้กับระบบทางเดินอาหารและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้
3. ชอบทานอาหารปิ้งย่างและรมควัน: วิธีการปรุงอาหารแบบปิ้งย่างและรมควันอาจทำให้เกิดสารที่มีพิษ เช่น ฮีเทอโรไซคลิกอะมีน (Heterocyclic Amines), โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons), และเบนโซ[a]ไพรีน (Benzo[a]pyrene) ซึ่งมีคุณสมบัติก่อมะเร็ง
4. รับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำ: กลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวที่รับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำ จะทานอาหารที่มีความหลากหลายต่ำ แต่มีแคลอรี่สูงและขาดใยอาหาร ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้
5. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีการศึกษาแนะนำว่าการสูบบุหรี่อาจกระตุ้นลำไส้ใหญ่ด้วยการระคายเคืองเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
ดังนั้น เพื่อไม่ให้มะเร็งลำไส้ "จ้องมองเรา" ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมอาหาร นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ตัวอย่างเช่น: ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป, ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง, รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ, เสริมแคโรทีนและวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม, หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด, ลดการดื่มแอลกอฮอล์และเลิกการสูบบุหรี่
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างนี้
คีโมเฉพาะจุด | โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจว
https://www.youtube.com/watch?v=yCDgBc0067M&t=8s
เทคนิคการรักษาด้วยความเย็น | โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจว
https://www.youtube.com/watch?v=sj4aoHa0bhw&t=10s
จุดเปลี่ยนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ลามไปตับ เมื่อคีโมเฉพาะจุดและการจี้เย็น คือความหวังใหม่!
https://youtube.com/shorts/XnE7Ryx66So?feature=share
ปรึกษาโรคมะเร็ง
หากคุณต้องการทราบว่าผู้ป่วยเหมาะสำหรับการรักษาแบบบาดแผลเล็กหรือไม่ (การรักษาด้วยความเย็น การรักษาด้วยมีดนาโน การรักษาเฉพาะจุดแบบอุดตันเส้นเลือด ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการรักษา กรุณากรอกข้อมูลผู้ป่วย เพื่อรับคำแนะนำจากทีมแพทย์มะเร็งผู้เชี่ยวชาญของเรา
-
การรักษาอุดเส้นเลือดของเนื้องอกแบบใหม่ - HepaSphere...
-
นพ.หยางชิงเฟิง...
การรักษาด้วยการให้ยาผ่านทางเส้นเลือด
การรักษาด้วยความเย็น (Cryosurgical Ablation, CSA)
การรักษาด้วยมีดนาโน (IRE)
การรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ
การรักษาด้วยคีโมร้อนบริเวณช่องท้อง
การรักษาด้วยแสงจำเพาะ (Photodynamic Therapy, PDT)
การรักษาโดยสร้างภูมิคุ้มกันแบบองค์รวม
-
โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
-
โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
-
ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
-
ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ