สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เราควรรักษาอย่างไร
None
Author:FUDA
From:แนวคิดใหม่ของการรักษามะเร็ง
โรงพยาบาลมะเร็งมะเร็งฟูด้ากว่างโจว ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งวัยสูง ควรรักษาอย่างไร
มะเร็งเป็นโรคที่พบทั่วไปในมนุษย์ แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงวัย มีการคาดการณ์ว่าประชากร 1 ใน 3 ของมนุษย์จะเป็นโรคมะเร็งและต้องการหาหมอดูแลรักษาในช่วงเวลาได้เวลาหนึ่งของชีวิต ยังมีการคาดการณ์ว่า หากมนุษย์มีอายุถึง 120 ปี 80% หรือมากกว่านั้นอาจเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
แต่โรคมะเร็งไม่ใช่โรคที่รักษาไม่ได้ ในปี 2006 องค์การอนามัยโรครวมผลจากหลายด้านแล้วลงมติว่า โรคมะเร็งส่วนมากเป็นโรคเรื้อรังคล้ายกับโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่ว่าโรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังนั้นมีสองความหมาย หนึ่งคือการเป็นโรคมะเร็งนั้นใช้ระยะเวลานาน สองคือภายใต้การควบคุมของระบบภูมิคุ้มกัน มะเร็งอยู่ในสภาพ“หลับ”อยู่ร่วมกับมนุษย์ได้
สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็งที่ไม่ใช่ระยะเริ่มต้นนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป้าหมายหลักของการรักษาคือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยทั่วไป ผู้ป่วยอายุ 75 ปีขึ้นไปนั้นไม่แนะนำรับการแบบรักษาคีโมแล้ว แม้แต่การผ่าตัดก็ต้องระมัดระวังเหมือนกัน ช่วงไม่กี่ปีมานี้การรักษาแบบบาดแผลเล็ก(เช่นการรักษาด้วยความเย็น)และการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันที่พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วนั้นสามารถยืดชีวิตของผู้ป่วยและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ วิธีการรักษาด้วยความเย็นนั้นไม่ต้องผ่าตัด โดยวิธีการคือ ใช้เข็มเล็กๆเจาะเข้ายังเนื้องอก และทำให้อุณหภูมิบริเวณหัวเข็มลดลงถึง -160 องศาเซลเซียส ทำลายเนื้องอกให้ตาย เป้าหมายของการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันคือ เพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านกับโรคมะเร็ง โดยเพิ่มเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่น T cell, NK cell ให้แข็งแรง เพื่อยับยั้งการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
โรงพยาบาลของผู้เขียนเคยรักษาคุณจาง ผู้ป่วยเพศหญิงวัย 94 ปี เธออยู่ๆมีอาการปวดหลังมาก
ขึ้นทุกวันในปี 2004 ลูกหลานจึงพาเธอไปตรวจ CT scan ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งพบว่า เธอเป็นมะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลังแล้ว อาการปวดของเธอนั้นเกิดจากเนื้องอกกดทับเส้นประสาท คุณหมอถามว่าเธออายุเท่าไร ลูกหลานตอบว่าอายุ 94 ปีแล้ว คุณหมอตกใจมาก พูดกับตัวเองว่า 94 ปี ถ้าชีวิตผมอยู่ได้นานขนาดนี้ก็ดีแล้ว หลังจากนั้นได้สั่งยาแก้ปวด 12 เม็ดให้ และสั่งลูกหลานเธอให้ดูแลเธออย่างดี แต่อาการปวดหลังของเธอนั้นเป็นมากขึ้นทุกวัน จนทำให้เธอร้องทรมานทั้งวัน ลูกหลานจึงพาเธอมารักษาที่โรงพยาบาลเรา เราได้ทำการรักษาให้เธอด้วยความเย็น หลังจากการรักษาด้วยความเย็นผ่านไป 30 นาที อาการปวดก็หายไป หลังจากนั้น 1 เดือนผ่านไป เนื้องอกเล็กลงครึ่งหนึ่ง
a
b
c
ภาพ1(a)ภาพ CT ก่อนการรักษา มีเนื้องอกที่ปอดขวา รุกรานถึงกระดูกสันหลัง
(b)ผลตรวจหลังจากการรักษาครึ่งปี ปรากฏว่าเนื้องอกส่วนใหญ่หายไป
(c)รูปภาพของผู้ป่วย
สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งทรมานที่สุดคืออะไร
ผลร้ายสุดที่โรคมะเร็งนำมาให้ผู้ป่วยคือความตาย แต่ก่อนตายนั้น ความเจ็บปวด คือ สิ่งที่ทำให้ทำให้ผู้ป่วยบางคนทรมานที่สุด มีคนเคยทำแบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายว่าในขณะที่คุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงจากโรคมะเร็งนั้น คุณอยากหายเจ็บปวดมากกว่าหรือยืดชีวิตให้มากกว่า คำตอบจากผู้ป่วย 70% ขึ้นไป คือ อยากหายจากการเจ็บปวด มีการกล่าวไว้ว่ามีแต่ความเจ็บเป็นที่ทำให้ไม่อยากอยู่แล้ว มันไม่จริงเลย เพราะมีการกล่าวว่า ในผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตนั้น 1 ใน 4ตายจากความกลัว อีก 1 ใน 4 ตายจากความเจ็บปวด อีก 1 ใน 4 ตายจากความหิว และที่เหลืออีกเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ตายจากโรคมะเร็ง
เพราะฉะนั้นแล้ว เราต้องรักษาให้อาการเจ็บปวดของผู้ป่วยทุเลาลงด้วยหลากหลายวิธี “การแก้ปวดสามขั้น”ถูกนำมาใช้กันทั่วไปในการรักษาแล้ว การใช้วิธีการแก้ปวดอย่างเหมาะสมนั้นให้ผลดีกับผู้ป่วยส่วนมาก อีกทั้งเรายังต้องแก้ไขปัญหาความเข้าใจผิดของการแก้ปวด บางคนพูดว่าปวดไม่เป็นไร ทนไว้ก็ดีแล้ว บางคนพูดว่าการใช้ยามอร์ฟีนแก้ปวดนั้นจะทำให้ติดยา อันที่จริง ความเห็นที่ถูกต้องคือ แก้ปวดด้วยหลากหลายวิธีได้ ไม่มีอาการปวดแบบไหนที่แก้ไม่ได้ หากจำเป็นต้องใช้ยามอร์ฟีนในการรักษาแก้ปวดนั้นก็ให้ใช้ถึงปริมาณที่พอเหมาะก็แก้ปวดได้ดี
นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องหาวิธีการที่ทั้งแก้ปวดได้และรักษามะเร็งได้อีกด้วย ผู้เขียนเคยรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับท่านหนึ่ง เธอเป็นพิธิกรของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยผ่าตัดไม่นาน มะเร็งตับกลับเป็นซ้ำและแพร่กระจายไปยังผิวหนัง ปอดและกระดูกสันหลัง เธอเป็นผู้หญิงสวยและเข้มแข็ง แม้ว่าปวดทั้งตัว แต่ยังยืนหยัดอดทน เธอก็เคยวิ่งขึ้นบนตึก เคยคิดว่าจะกระโดดลงมาทำให้ทุกอย่างจบสิ้นหลายครั้ง แต่พอคิดถึงสามีและลูกสาวที่แสนรัก เธอจึงตัดสินใจรับการรักษาแก้ปวดด้วยหลากหลายวิธี รวมถึงการใช้ยามอร์ฟีน แต่อาการปวดก็ยังไม่ดีขึ้น ญาติและเพื่อนร่วมงานของเธอพาเธอมาหาผมเมื่อเดือนเมษายนปี 2008 แต่ผมก็ไม่กล้ารักษาเธอ ได้เพียงแต่ฉีดวัคซีนพิเศษเข็มหนึ่งให้เธอ หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ เธอโทรมาบอกผมว่าอาการปวดตรงขาข้างขวาลดลงแล้ว และอยากเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล อาการปวดของเธอค่อยๆดีขึ้น เธอพูดว่า ฉันรู้ดีว่ามะเร็งของฉันมันไม่หายหรอก แต่ถ้าฉันไม่เจ็บตัว ถึงตายฉันก็ไม่เสียใจ หลังจากนั้นผ่านไป 1 ปี เธอเสียชีวิตจากเลือดออกจากระบบทางเดินอาหาร สามีของเธอส่งข้อความมาว่า ขอบคุณคุณหมอมากครับ ภรรยาของผมเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว ตายก็ไม่เจ็บอีกแล้ว เธอจากไปอย่างสบายแล้วครับ
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ขั้นตอนแรกคุณต้องทำอย่างไร
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายนั้น หมอไม่ควรตัดสินง่ายๆว่าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถรักษาได้แล้ว การเอาใจใส่ของหมอนั้นสำคัญมาก ถึงกับมีคำที่ว่า“หมอเอาใจใส่ยังกับบิดามารดาของผู้ป่วย”หมายความว่าหมอต้องเอาใจใส่และซื่อสัตย์กับผู้ป่วย
ผู้เขียนเล่าเรื่องที่ประทับใจให้ฟังว่า ผมได้อาสาไปตรวจผู้ป่วยฟรีที่เมืองจ้านเจียง เมืองที่ห่างจากเมืองกว่างโจว 500 กิโลเมตร พร้อมกับคณะผู้เชี่ยวชาญของมณฑลกวางตุ้ง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมปี 2009 วันนั้นเวลาบ่ายสามโมง หญิงสาวที่“ท้องโต”คนหนึ่งได้มาปรากฏตัวตรงหน้าผม เธอชื่อเผิง อายุ 28 ปี ใบหน้าของเธอซูบผอม ผิวขาวซีดเซียวขาดเลือดฝาด เดินอย่างลำบาก เท้าทั้งสองข้างช้ำบวมเป่งราวกับเท้าช้าง เธอบอกผมว่า เธอป่วยมา 2 ปีกว่าแล้ว มีอาการท้องโตขึ้นๆทุกวัน สุดท้ายแม้แต่นั่งก็ไม่ได้ แม้กระทั่งเวลาขับถ่ายก็ต้องยืน ผมถามเธอว่าทำไมไม่ไปหาหมอ เธอตอบว่าหมอบอกว่าเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย รักษาไม่ได้
ในชีวิตอันเป็นจริง ถ้าเราเอื้อเฟื้อความช่วยเหลือบางครั้ง ก็จะได้สัมผัสถึงความอบอุ่นของโลกมนุษย์ การที่เป็นพ่อนั้นทำให้ผมตัดสินใจช่วยหญิงสาวที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายท่านนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ผมได้จัดรถพยาบาลไปรับเธอมาถึงโรงพยาบาลจากเมืองจ้านเจียง หลังจากนั้นได้ทำการผ่าตัดเนื้องอกก้อนใหญ่พร้อมจัดการน้ำรวม 55 กิโลกรัมในช่องท้องให้เธอ หลังจากนั้นผ่านไปครึ่งเดือน หญิงสาวที่เคยใกล้ความตายคนนี้ฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ แล้วได้กลับไปอยู่กับพ่อแม่ที่จากกันมา 2 ปีก่อนเทศกาลตรุษจีน(ภาพ2)
a
b
c
ภาพ2(a)ศ.นพ.สวีเค่อเฉิงเจอคุณเผิงในเวลาไปตรวจผู้ป่วยฟรีที่เมืองจ้านเจียง
ก่อนการรักษาคุณเผิงมีอาการท้องโตและขาบวมทั้งสองข้าง
หลังจากการรักษาคุณเผิงเปลี่ยนเป็นสาวสวย
หมอต้องรักษาผู้ป่วยด้วยความกระตือรือร้น และมีความเมตตาในการช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วย
จักรวาลไม่มีขีดสุด แต่ชีวิตมีความสิ้นสุด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ใช่ระยะเริ่มต้นนั้น ไม่ควรวิเคราะห์เป็นว่าระยะสุดท้ายอย่างง่ายดาย แต่ต้องรักษามะเร็งระยะสุดท้ายให้กลับมาเป็นระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาไม่ได้กลายเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาได้ หรือรักษาได้ถึงหายขาดซึ่งสิ่งที่สำคัญในการปรับสภาพให้เป็นไปตามที่กล่าวไว้ข้างบนคือ เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลมีความมั่นใจหรือไม่ มีความกระตือรือร้นและความซื่อสัตย์ต่อผู้ป่วยหรือไม่
ชีวิตนั้นมักแข็งแกร่งมากกว่าโรค มนุษย์เราต่อสู้กับโรคมาโดยตลอด จงรักษาศักดิ์ศรีของชีวิต ผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นไม่อ่อนแอหรอก ถ้ายังมีลมหายใจก็ต้องยืนหยัดใช้ชีวิตต่อไป “การุณยฆาต” นั้นไม่ใช่ทางเลือกของผู้ป่วยส่วนใหญ่
คุณหวัง นักธุรกิจวัย 76 ปีของฮ่องกง สื่อมวนชนตั้งชื่อให้เขาว่าเจ้าพ่อแห่งน้ำยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากเขาได้บริจาคน้ำยาฆ่าเชื้อจำนวนมหาศาลแก่ชุมชนช่วงโรคซาร์สระบาด เขาได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดมะเร็งตับเมื่อมีนาคมปี 2001 และเมื่อต้นปี 2003 มะเร็งตับของเขากลับเป็นซ้ำโดยขึ้นมาเป็นเนื้องอก 4 ก้อนที่ตับ หมอฮ่องกงแจ้งว่ารักษาไม่ได้แล้ว แต่เขาไม่ยอมแพ้จึงเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลของเรากับภรรยา หลังจากเข้าพักที่โรงพยาบาลวันที่สอง ลูกๆของเขาโทรจากประเทศอเมริกาและฮ่องกงพร้อมกันและขอให้โรงพยาบาลช่วยพูดโน้มน้าวให้เขาออกจากโรงพยาบาลและกลับบ้าน เพราะพวกเขาต่างคิดว่าโรงพยาบาลในแผ่นดินใหญ่ไม่สามารถรักษามะเร็งตับของคุณพ่อพวกเขาได้ คุณหวังไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด เขาพูดว่าชีวิตเป็นของตัวผมเอง ผมมีสิทธิ์รักษาชีวิตของตัวเองไว้ ถึงตายก็ต้องตายอยู่ที่นี่ ลูกสาวของเขาใจร้อนมากจึงตัดสินใจมารับพ่อออกจากโรงพยาบาลพร้อมกับลูกๆคนอื่น คุณหวังโมโหฯมากจึงขอให้โรงพยาบาลทำการรักษาให้เขาโดยเร็วสุด เขาได้เข้ารับการรักษาด้วยการอุดเส้นเลือดของเนื้องอกและการรักษาด้วยความเย็น หลังจากการรักษาหนึ่งอาทิตย์ เขาออกจากโรงพยาบาลและกลับไปที่ฮ่องกง หลังจากนั้นภายในหนึ่งปี ธุรกิจของเขาได้เจริญเติบโตอย่างมาก เขาพูดอย่างมีความสุขว่า พระเจ้าได้มอบชีวิตและความมั่งคั่งให้เขาอีกครั้ง(ภาพ3)
a
b
c
ภาพ3(a)ภาพ CT ที่แสดงมะเร็งตับของคุณหวังหลังจากการรักษา
(b)คุณหวังได้เข้ารับการรักษาเสร็จและมีความสุข
(c)คุณหวังกับบริษัทของเขาในฮ่องกงหลังจากเวลาหนึ่งปี
หากคุณหวังไม่ได้ยืนหยัดว่าถึงตายก็ต้องตายที่นี่ ไม่ปรารถนาเข้ารับการรักษาอย่างแข็งแกร่ง ผลคงจะเป็นไปอีกแบบหนึ่งแน่นอน บางครั้งชีวิตมันช่างง่ายจัง แค่ให้คนอื่นช่วยวางแผนแข่งกับเวลาช่วยชีวิตและให้กำลังใจเท่านั้นเอง แต่หลังจาก 2 ปีผ่านไป คุณหวังเสียกลับชีวิตจากโรคหัวใจแต่ไม่ใช่จากโรคมะเร็ง
การรักชีวิต ให้ความสำคัญกับชีวิต ความมั่นใจกับการมีชีวิตนั้นทำให้เราสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้ นี่คือวิธีการรักษาด้วยความมั่นใจ หนังสือกินเนสส์บุ๊คออฟเวิลด์เรคคอร์ด(Guinness World Records)ได้บันทึกว่ามีคนเข้ารับการรักษาด้วยผ่าตัดถึง 889 ครั้ง ซึ่งผู้ที่สร้างสถิติคือ นาย Johnson ช่างไฟฟ้าของเมืองรัฐเซาท์ดาโคตาประเทศอเมริกา เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เขาเริ่มเป็นมะเร็งผิวหนัง แล้วแพร่กระจายไปยังกระดูกและอวัยวะอื่นๆตามลำดับ เขาได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดครั้งแล้วครั้งเล่า มีรอยผ่าตรงใบหน้า คอ แขน หลัง สมอง และถุงน้ำดี เขาเป็นผู้ป่วยประจำของเมโยคลินิก(Mayo Clinic)เป็นคลินิกที่ขึ้นชื่อในเมืองมินนิโซตาประเทศอเมริกา หมอคิดว่าจะทำการวิจัยศพของเขาหลังจากเขาเสียชีวิต แต่ความคิดนี้ยังไม่บรรลุผลสักทีจนถึงตอนนี้ เพราะเขายังมีชีวิตอยู่ ยังสร้างเรคคอร์ดต่อ ตลอดระยะเวลา 30 ปีมานี้ นาย Johnson ต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วยความใจสงบ ไม่เคยให้บรรยากาศของความตายเข้ามาครอบคลุมชีวิตของเขา ความมั่นใจกับชีวิตของเขานั้นเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาเอาชนะโรคมะเร็งได้
ผู้ป่วยมะเร็งต้องการอะไรมากที่สุดในขณะที่ป่วยหนักที่สุด
สิ่งแรกคือต้องมีความสุข การมองโลกในแง่ดีและมีความสุขนั้นเป็นสารบำรุงธรรมชาติของสุขภาพ องค์การอนามัยโรคระบุว่าปัจจัยทางจิตนั้นเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ การมีอารมณ์ จิตใจแปรปรวน เศร้าโศก หดหู่ โกรธ เสียใจ นั้นถูกเรียกว่าจิตแบบ C หรือจิตแบบมะเร็ง C เป็นอักษรแรกของคำว่า Cancer ผู้ที่มีจิตแบบนี้จะเป็นโรคมะเร็งง่ายกว่าแบบอื่น ต้องแก้ไขและเปลี่ยนความคิดแบบมะเร็งนี้ จะเกิดภูมิคุ้มกันทางจิตและช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
มีคำกล่าวที่ตลกๆในศตวรรษที่ 19 ของประเทศอังกฤษว่า ตัวตลกหนึ่งตัว สู้หมอหนึ่งโหลได้ ความหมายคือการชมดูการแสดงของตัวตลกทำให้หัวเราะมีความสุข นาย Faraday นักฟิสิกส์เคมีที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น เขาร่างกายอ่อนแอและป่วยอยู่เสมอ มีหมอคนหนึ่งแนะนำเขาว่าการหัวเราะนั้นช่วยทำให้อายุยั่งยืน เขาได้รับฟังไว้และหัวเราะหลายครั้งในทุกๆวัน หลังจากนั้นร่างกายของเขาเริ่มแข็งแรงมากขึ้นจริงๆ ผู้ป่วยโรคมะเร็งยิ่งควรทำ หมอ พยาบาลและญาติต้องทราบความต้องการของผู้ป่วย แล้วช่วยผู้ป่วยคลายจิต ผมเคยรักษานักปรัชญาจากมณฑลฝูเจี้ยนท่านหนึ่ง เขาป่วยเป็นมะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังหลายตำแหน่ง เขากลุ้มใจกับอาการป่วยของตัวเองมาก เขามีอาการปวดทั้งตัว นอนร้องบนเตียงทั้งวันและปฏิเสธการรักษา
จากการพูดคุยกับเขา ผมทราบว่า เขากำลังทุกข์ใจเพราะรู้สึกผิดหวังมาก เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียง แต่ก่อนได้รับการชมเชยมากมาย แรกๆหลังจากป่วยนั้น ยังมีคนเอาใจใส่เขามากมาย แต่เวลาผ่านไปนานคนที่มาเยื่ยมเขานั้นน้อยลงๆ ผมเห็นว่าเขาเป็นคนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในด้านปรัชญามากจึงตัดสินใจจัดการแถลงข่าวให้เขา หนังสือพิมพ์ใหญ่หลายฉบับในเมืองกว่างโจวพาดหัวข่าวผลงานและอาการป่วยของเขาพร้อมกัน หลังจากนั้นผ่านไปไม่กี่วัน ผู้ใหญ่และเพื่อนๆเขาต่างนำของฝากมาเยี่ยมเขาจากบ้านเกิด เขาดีใจมากยืมโต๊ของโรงพยาบาลเริ่มเขียนหนังสือเล่มที่สอง ผมเชิญให้เขาเปิดสอนให้หมอของโรงพยาบาลเรา เขาสามารถยืนบรรยายได้เวลา 90 นาทีแล้วยังไม่รู้สึกเหนื่อย
a
b
ภาพ4 a หลังจากงานแถลงข่าว สื่อมวลชนของเมืองกว่างโจวเริ่มสนใจนักปรัชญา
b.นักปรัชญาจับมือผ.อ.สวีเค่อเฉิงหลังจากงานบรรยาย
หมอกับผู้ป่วนต่อสู้เพื่อเป้าหมายเดียวกัน เจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาลไม่เพียงแต่ต้องใช้เทคนิคและความสามารถในการบริการผู้ป่วย ยังต้องสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยใจอีกด้วย ตามนักปรัชญาท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า ถ้าเราซื่อสัตย์จริงใจกับคนอื่นจนทำให้คนอื่นซื่อสัตย์จริงใจกับเรากลับ เราจะได้การตอบแทนที่ดีสุดจากงานของเรา
เราจัดทัวร์ท่องเที่ยว จัดงานวันเกิดและงานฉลองเทศกาลให้ผู้ป่วยเสมอ เพื่อให้พวกเขามีความสุข มีพลังต่อสู้และเอาชนะโรค(ภาพ 5)
ภาพ5 หมอและพยาบาลกับผู้ป่วยมะเร็ง
อันที่สอง ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น การรักษาทุกวิธีมีผลข้างเคียง แต่ไม่ควรเพิ่มความทรมานให้ผู้ป่วยด้วยการรักษา
หน้าที่ของหมอไม่เพียงแต่ต้องช่วยชีวิต ยังต้อง”วางแผน”การตายให้ผู้ป่วยอีกด้วย เราสามารถยืดชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเลี่ยงจากความตายได้ไปตลอด เพราะความตายที่เลี่ยงไม่ได้ถึงทำให้การมีชีวิตอยู่นั้นช่างมีคุณค่ามาก เราต้องยืดชีวิตให้ผู้ป่วยด้วยหลากหลายวิธี ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่อาการหนัก หมอต้องตั้งใจวิเคราะห์อาการ ประเมินข้อดีข้อเสีย ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยสิ้นหวัง แต่ก็ไม่ควรทำการรักษาให้ผู้ป่วยมากเกินไป ผมเคยไปร่วมประชุมการรักษาผู้ป่วยที่เป็นเศรษฐีท่านหนึ่งที่ต่างมณฑล พอเดินเข้าไปในห้องผู้ป่วยผมก็ตกใจมาก ผู้ป่วยอายุ 80 กว่าปี ได้ยินว่าหลายเดือนที่แล้วเขายังสามารถไปเที่ยวได้ แต่ตอนนี้ต้องเจาะคอใส่เครื่องช่วยหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ 130 ครั้ง/นาที เลือดออกทั้งตัว ไม่ค่อยรู้สึกตัวแล้ว เขาเป็นมะเร็งชนิดหนึ่ง ได้เข้ารับการผ่าตัดเมื่อครึ่งปีที่แล้ว หลังจากนั้นไม่กี่เดือนผ่านมาปรากฏว่ามะเร็งลามเข้ากระดูก หมอได้ใช้ยาดีที่สุดและแพงที่สุดหลายตัวในเวลานั้นให้เขา สุดท้ายโรคมะเร็งไม่ได้ทำให้เขาเป็นอันตราย แต่ผลข้างเคียงของยากลับทำให้เขามีอาการการทำงานของปอดล้มเหลวและเลือดออกทั้งตัว ตกอยู่ในสภาพอันตราย ถ้าผู้ป่วยวัยสูงท่านนี้ไม่ใช่คนรวย คงไม่มีโอกาสได้ใช้ยาเหล่านั้น เรื่องนี้แสดงว่า ยาใหม่หรือยาแพงนั้นไม่ใช่ยาดีซะทีเดียว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้ให้เหมาะสม
คีโมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษามะเร็งทั่วไป ตามทฤษฎี ยาคีโมส่วนมากจะเข้าไปในเซลล์ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นยาคีโมสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง อันที่จริงแล้วมันยังสมารถยับยั้งเซลล์ที่ปกติเช่นเซลล์ไขกระดูก เซลล์เยื่อกระเพราะอาหารและลำไส้ เซลล์ภูมิคุ้มกัน ผู้เชี่ยวชาญทำการวิจัยยาที่รักษาเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้แต่ก็ยังไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ยา ขณะเดียวกันเราต้องใช้ยาป้องกันผลข้างเคียงพร้อมกันไปด้วย เช่น ใช้ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวก่อนคีโมหรือขณะให้ยาคีโม สามารถป้องกันเม็ดเลือดขาวต่ำ การปลูกถ่ายไขกระดูก เทคนิคเซลล์ต้นกำเนิดสามารภป้องกันและแก้ไขปัญหาของการกดไขกระดูกจากการรักษาด้วยคีโม เราได้นำเทคนิคการอุดเส้นเลือดฝอยของเนื้องอกด้วยสารอนุภาคมระดับนาโนเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น วิธีการคือจัดทำยาคีโมให้เป็นอนุภาคระดับนาโน หลังจากนั้นฉีดเข้ายังเส้นเลือดฝอยของเนื้องอกโดยตรงผ่านสางยางเล็กๆ ผนังเส้นเลือดฝอยของเนื้องอกมีช่องว่าง ทำให้ยาคีโมระดับนาโนนั้นสามารถซึมเข้าในเนื้องอก และทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่ยาคีโมระดับนาโนนั้นไม่สามารถซึมผ่านเส้นเลือดฝอยที่ปกติได้ ฉะนั้นจะไม่ทำลายเนื้อเยื่อปกติ เพราะยาคีโมส่วนมากรวมตัวอยู่ในเนื้องอก เราจึงสามารถลดปริมาณของการใช้ยาได้ ใช้เพียง 1 ใน 10 ถึง 1 ใน 20 ของปริมาณทั่วไปก็พอ ดังนั้นผลข้างเคียงจากยาจึงน้อยมาก แต่ประสิทธิภาพของการรักษาเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งสูงวัยและผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการหนัก
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หมอพยาบาลคิดอย่างไรถึงดีที่สุด
หมอกับพยาบาลต้องคิดบวกเสมอถึงแม้ถูกต่อว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด เนื้องอกก็หายไป ผู้ป่วยดีใจ ญาติก็ขอบคุณ แต่การรักษาผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งระยะสุดท้ายนั้นจะไม่เหมือนกัน การรักษาส่วนมากไม่สามารถทำให้มะเร็งหายไปหมด อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลานานถึงเห็นผล อัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคสูงกว่ามะเร็งระยะเริ่มต้นอีกด้วย เราพยาบาลถึงแม้จะรักษาให้ผู้ป่วย แต่สุดท้ายกลับถูกต่อว่าเสมอ
เราเคยรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย ให้คนวัย 23 ปีท่านหนึ่ง เขาย้ายมารักษาจากอีกโรงพยาบาลหนึ่ง เนื้องอกที่ตับขนาดใหญ่มากจนลามไปยังช่องท้องส่วนล่าง มีน้ำในช่องท้อง ขาบวม มะเร็งแพร่กระจายไปยังปอดอีกด้วย ทางญาติผู้ป่วยต้องการสู้ถึงให้ถึงที่สุด หมอพิจารณาอยู่หลายครั้งจึงตัดสินใจรักษาผู้ป่วยโดยประคับประคองไว้ก่อน แต่คิดไม่ถึงเลยว่า เพิ่งเจาะไส่สายเข้าเส้นเลือดใต้กระดูไหปลาล้า ยังไม่ทันได้ฉีดยาอะไรทั้งนั้น ผู้ป่วยอยู่ๆก็หมดสติ ลูกตาดำข้างหนึ่งใหญ่อีกข้างหนึ่งเล็ก นี่เป็นอาการแสดงของภาวะสมองเลื่อนผิดปรกติ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหนึ่ง คือมะเร็งลามเข้าสมองทำให้เส้นเลือดในสมองตีบดัน สองคือมะเร็งที่แพร่กระจายเข้าสมองแตก ไม่เกี่ยวข้องกับการใส่สายโดยตรง แต่ญาติผู้ป่วยไม่เข้าใจการเกิดอาการกะทันหันอย่างนี้ ต่อว่าเป็นว่าการผิดพลาดของการรักษา เราจัดทีมแพทย์พยาบาลช่วยชีวิตผู้ป่วยแบบเร่งด่วน ไม่ได้อธิบายอะไรเพื่อแก้ตัว หมอพยาบาลอยู่ช่วยดูแลผู้ป่วยตลอดจากเวลา 4 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม สุดท้ายผู้ป่วยก็เสียชีวิตจากอาการหนัก พยาบาลตั้งใจทำการเช็ดตัวให้และเปลี้ยนเสื้อผ้าที่ญาติผู้ป่วยเตรียมไว้ ดร.หนิว รองศาสตราจารย์และผู้อำนวยการของแผนกก็มาดูแลผู้ป่วยกับนางพยาบาลด้วย ญาติที่ได้เห็นจึงเริ่มเปลี่ยนความคิด
ตอนเช้าของวันที่สองเวลาเพิ่งเข้าเวร ญาติผู้ป่วย 5-6 คนมาถึงออฟฟิศของผม พ่อแม่ของผู้ป่วยจับมือผมแน่นและพูดว่า ลูกของพวกเราป่วยมาเป็นปีกว่าแล้ว ไม่เคยได้เจอกับทีมแพทย์ที่ทำงานตั้งใจและมีความรับผิดชอบอย่างพวกคุณเลย พวกคุณพยายามช่วยเต็มที่แล้ว ขอบคุณมาก พี่น้องของผู้ป่วยพูดว่า เมื่อวาน พวกเราคิดไม่ดีกับพวกคุณ ต้องขออภัยด้วย ผมน้ำตาไหลอย่างห้ามไม่ได้ ดร.หนิวที่ยืนอยู่ข้างๆก็น้ำตาไหลเหมือนกัน ผมพูดกับญาติผู้ป่วยว่า ขอบคุณพวกคุณที่เข้าใจเรา นี่เป็นหน้าที่ของเราทั้งนั้น เรื่องผ่านไปหนึ่งปีแล้ว ผมยังไม่ลืม
ความเข้าใจกันคืออะไร มันเป็นการสื่ออารมณ์และความรู้สึกเข้าด้วยกัน ความเข้าใจกันนั้นไม่ต้องอาศัยการพูด หรือการสั่งสอน มันขึ้นอยู่ที่คุณทำอะไร ทำได้อย่างไร ในชีวิตอันจริง เราแค่เอื้อเฟื้อความช่วยเหลือบางครั้ง ก็ได้สัมผัสถึงความอบอุ่นจากโลกใบนี้ การทำงานของเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาลนั้นเป็นการประเมินใจ ความเข้าใจกันกับผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งที่วัดว่าเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีหรือไม่
ผมเคยเจอกับเคสหนึ่ง เป็นผู้ป่วยหญิงสาวที่เป็นเนื้องอกในช่องท้องและมีอาการน้ำในช่องท้องท่านหนึ่งเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล ก่อนเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลเรา เธอได้ตรวจอุนตร้าด์และ CT scanที่โรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองกว่างโจวมาแล้ว คุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่แพร่กระจายยังช่องท้อง จากผลการตรวจนำในช่องท้องทั่วไปปรากฏว่า ไม่พบเชื้อวัณโรคและเซลล์มะเร็ง จากฟิล์มเอกซเรย์ไม่เห็นวัณโรคเหมือนกัน ผู้ป่วยทรมารจากอาการแน่นท้องมาก เราทำการรักษาต่อต้านวัณโรคก่อน แต่ไม่ได้ผล หลังจากนั้นได้ทำคีโมในช่องท้อง 3 วัน ก็ไม่ได้ผลเหมือนกัน เราจึงตัดสินใจทำการผ่าตัดหน้าท้องให้ผู้ป่วย หลังจากผ่าตัดหน้าท้องพบว่ามีตุ่มขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากันเต็มไปหมดในช่องท้อง เยื่อบุช่องท้องหนาขึ้นและแข็งมาก การประสบการณ์วินิจฉัยว่าเป็นรังไข่ได้ แต่หลักฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยคือการตรวจทางพยาธิวิทยา เพราะฉะนั้นเราจึงตัดเนื้องอกบางส่วนออกมาตรวจทางพยาธิวิทยาแบบเร่งด่วน หลังจากครึ่งชั่วโมงผ่านไป ผลตรวจออกมาว่าเป็นเชื้อวัณโรคในช่องท้อง ทุกคนดีใจกับผลนี้ รวมถึงหมอและญาติผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยขอเลี้ยงหมอเพื่อแสดงการขอบคุณ แต่เนื่องจากกฎของแพทย์ ผมจึงรับไว้แค่คำขอบคุณ
ลักษณะของเชื้อวัณโรคในช่องท้องคือ เมื่อเชื้อได้ถูกปล่อยสู่อากาศ อาการของผู้ป่วยก็ดีขึ้นมาก หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อต้านเชื้อวัณโรคต่อ น้ำในช่องท้องก็ลดลงๆทุกวันจนหายไป ร่างกายก็ดีขึ้นๆทุกวัน หลังจากการผ่าตัดผ่านไป 10 วัน ผู้ป่วยก็ตัดไหมแล้วออกจากโรงพยาบาลได้ ในโรงพยาบาลของเรา ผู้ป่วยกรณีอย่างนี้ถือว่าโชคดีที่สุดแล้ว และพวกเราดีใจที่เธอหายป่วยและสามารถเอาชนะโรคมาได้
แต่คิดไม่ถึงว่า จากอาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้นทุกๆวันนั้น ญาติผู้ป่วยก็มีข้อสงสัยมากขึ้นๆ ญาติผู้ป่วยมาหาผมและถามว่า ทำไมพวกคุณไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคก่อนผ่าตัด ทำไมพวกคุณถึงทำคีโมให้ผู้ป่วย
เรายอมรับว่า เราผิดที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แต่หมอไม่ใช่เทวดา หมอวินิจฉัยโรคจากการประเมินข้อมูลต่างๆที่ได้มาสรุปอย่างเดียว ไม่มีหลักฐานก็ไม่สามารถแน่ใจว่าเป็นวัณโรค
ถ้าเราไม่ได้ทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยท่านนี้ก่อน ก็อาจไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง และผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยเป็นว่ามะเร็งรังไข่ต่อไปจนถึงเสียชีวิต แบบนี้ญาติผู้ป่วยอาจไม่มีข้อสงสัยใดๆกับเราแล้ว แต่นี่มีผลดีกับใครละ
ไม่ว่าเราทำอะไร ความสำเร็จนั้นมักจะมีความเสี่ยงอยู่ด้วย เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเข้าใจและสนับสนุนได้ตลอด งานการแพทย์เป็นงานที่ซับซ้อนมาก เลี่ยงจากการเข้าใจผิดและการต่อว่าไม่ได้ ซึ่งทำให้หมอสับสนเสมอ แต่ในเมื่อหมอเลือกทำงานที่ต้องรักษาโรคช่วยชีวิตแล้ว ก็หมายความว่า ไม่ว่าสิ่งใดที่เป็นผลดีกับผู้ป่วยก็ต้องทำถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการถูก“ต่อว่า”ก็ตาม
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 2011
ปรึกษาโรคมะเร็ง
หากคุณต้องการทราบว่าผู้ป่วยเหมาะสำหรับการรักษาแบบบาดแผลเล็กหรือไม่ (การรักษาด้วยความเย็น การรักษาด้วยมีดนาโน การรักษาเฉพาะจุดแบบอุดตันเส้นเลือด ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการรักษา กรุณากรอกข้อมูลผู้ป่วย เพื่อรับคำแนะนำจากทีมแพทย์มะเร็งผู้เชี่ยวชาญของเรา
- คีโมเฉพาะจุด ความหวังใหม่ในการรักษามะเร็งหลายชนิด!
ตัวยาเข้มข้น คีโม 1-2 ครั้ง เทียบเท่าคีโมปกติถึง 5-6 เท่า ทำลายเซลล์มะเร็งเท่านั้น แตกต่างจากคีโมแบบปกติที่ส่งผลทั้งตัว ทำลายเซลล์ทั้งหมดไม่ว่าดีหรือร้าย
✅แม่นยำ
✅แผลเล็ก
✅ฟื้นตัวไว
✅ประสิทธิภาพสูง - ผู้ป่วยมะเร็งไตระยะสุดท้าย เหลือไตเพียงข้างเดียว เข้ารับการรักษาด้วยความเย็น อยู่รอดมานานกว่า 11 ปี.
ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยการผ่าตัดและยามุ่งเป้ามาก่อน ด้วยผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยจึงตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยความเย็นกับทางโรงพยาบาลฟูด้ากว่างโจว - อาม่าชาวไทยวัย 86 ปี (มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง) พบเนื้องอกที่ปอดซ้ายระหว่างการตรวจสุขภาพ
แพทย์ท้องถิ่นไม่กล้าทำการเจาะชิ้นเนื้อเนื่องจากอายุที่มากและมีโรคประจำตัว ญาติจึงพาผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลของเรา ทีมแพทย์ได้ทำการเจาะเข็มผ่านผนังอกเพื่อทำลายเนื้องอกด้วยความเย็นพร้อมเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจ
เทคนิคการรักษาด้วยความเย็น เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
- ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
- หัวหน้าแพทย์
- หัวหน้าแพทย์อาจารย์ให้คำปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก
- ศ.นพ.หนิวลี่จื้อ
- หัวหน้าแพทย์
- รองผู้อำนวยการของโรงพยาบาล
- ประธานโรงพยาบาลฟูด้า
- ศ.นพ.เจิงจงยวน หัวหน้าแพทย์
- หัวหน้าแพทย์
- ศาสตราจารย์
- ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับทุนพิเศษจากสภาแห่งรัฐ
- รอง ศ.นพ.เผียวเชี่ยงฮ่าว
- รองศาสตราจารย์
- ผู้อำนวยการบำบัด
- ผู้เชี่ยวชาญจบการรักษาแบบเปิดแผลเล็กจากญี่ปุ่น
- นพ.หลิวซู่เผิง
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- นพ.หลงซินอัน
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หัวหน้าเทคนิคการแพทย์ หลี่หลงหลง
- หัวหน้าเทคนิคการแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค
เบอร์ติดต่อ: 081-580-3998
-
คุณสุวัฒน์ จากประเทศไทยผู้ป่วยมะเร็งปอด รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 6 ปี
-
คุณกัวหลิน จากประเทศเดนมาร์กผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย
-
คุณ Shelly Mahara จากประเทศอินโดนีเซียผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 14 ปี
-
คุณ Amy จากประเทศฮ่องกงผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 10 ปี
- 09 / 232024มะเร็งท่อน้ำดีในตับ: ปริศนาที่ท้าทาย - มีดนาโนเสนอทางออกใหม่
- 09 / 062024โรงพยาบาลมะเร็งกวางโจว ฟูด้า ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน "นวัตกรรมทางการแพทย์ของผู้ป่วยจีน-สหรัฐฯ"
- 08 / 162024พี่น้องเป็นมะเร็งทางนรีเวชรักษาที่ฟูด้าด้วยกัน ผู้เชี่ยวชาญเตือน: ระวัง "สัญญาณมะเร็ง" เหล่านี้!
-
โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
-
โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
-
ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
-
ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ