• ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
  • วิธีการรักษาแบบใหม่
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เรื่องราวของผู้ป่วย
หน้าหลัก / แนวคิดใหม่

ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง เราต้องเปลี่ยนแนวคิดของการรักษามะเร็ง

None

Author:ศ.นพ.สวีเค่อเฉิงFrom:FUDA

  แนวคิดใหม่ของการรักษามะเร็ง

  โรงพยาบาลมะเร็งมะเร็งฟูด้ากว่างโจว  ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง


ny19_269663.jpg

  บทเรียนจากโชคชะตาที่แตกต่างกัน

  ผมเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับ ตรวจพบเนื้องอกที่ตับขวาหนึ่งก้อนเมื่อวันที่ 18 มกราคม ปี2549 แล้วได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทันที ผลตรวจทางพยาธิวิทยายืนยันว่าเป็นมะเร็งตับชนิดเซลล์กลายพันธ์จากเซลล์ท่อน้ำดี หลังจากการผ่าตัดต้องเข้ารับการรักษาด้วยคีโม หลายคนบอกให้รักษาตามปกติ คือ การรักษาด้วยการทำคีโมและการฉายรังสี แต่ผมปฏิเสธและเข้ารับการรักษาด้วยสร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะเวลายาวแทน

  ผมมีเพื่อนสองคนเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันกับผม ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดซึงการผ่าตัดก็ประสบความสำเร็จเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นประธานของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในมณฑลเหอหนาน เขาได้เข้ารับการรักษาด้วยคีโมและฉายแสงหลังจากการผ่าตัด หลังจากนั้น 4 เดือน เนื้องอกโผล่ ขึ้นมาที่ตับอีกครั้งและแพร่กระจายไปยังปอดและกระดูก เนื้องอกกดทับเส้นประสาทไขสันหลังทำให้เขามีอาการปวดอย่างรุนแรง ต่อมาเขาได้เข้ารับการรักษาแบบองค์รวม อาการปวดทุเลาลงแต่ก็ไม่หาย สุดท้ายก็เสียชีวิตลงด้วยภาวะตับล้มเหลว อีกคนหนึ่งเป็นพี่ใหญ่จากมณทลซานตง เธอได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่เมืองเซี่ยงไฮ้  หลังจากนั้นได้เข้ารับการรักษาด้วยคีโมและฉายรังสีเพื่อควบคุมอาการให้ดีขึ้น แต่ในช่วงเวลาให้คีโมนั้น มะเร็งของเธอแพร่กระจายไปยังปอดและกระดูก มีอาการตัวเหลือง เลือดออก เลือดจาง เมื่อมารักษาที่กว่างโจว เราก็ไม่สามารถทำการรักษาให้เธอได้แล้วนอกจากรักษาตามอาการ ซึ่งเพื่อนสองคนนี้รอดชีวิตได้ไม่ถึง 1 ปี

  ป่วยเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน แต่ทำไมผมโชคดีจังที่รอดชีวิตได้ถึง 7 ปีกว่า แต่เพื่อนสองคนนั้นกลับรอดชีวิตได้ไม่ถึง 1 ปี

  เพื่อนที่เป็นประธานของบริษัทมหาชนคนนั้นเคยพูดกับผมว่าคุณรักษามะเร็งของคุณแบบ “แฮนด์เมด”แต่ผมเข้ารับการรักษาแบบกระบวนการทั่วไป สามีของพีใหญ่จากมณทลซานตงพูดว่า หลังการผ่าตัดคุณหมอแนะนำให้ทำการรักษาหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทำคีโมหรือการฉายรังสี และเราก็เชื่อว่าการรักษานั้นยิ่งมากยิ่งดี ก็เลยทำตามคำแนะนำ สุดท้ายพวกเขาก็มาพูดกับผมอย่างเสียใจว่า “หากผมรักษาตามคุณ ทุกอย่างก็น่าจะดีกว่านี้”

  คำพูดของพวกเขานั้นอาจไม่ถูกไปซะทีเดียวแต่บทเรียนนี้สอนให้รู้ว่า เราต้องเปลี่ยนแนวคิดของการรักษามะเร็ง และอันที่จริง การทำคีโมและฉายรังสีก็ไม่ค่อยได้ผลกับมะเร็งท่อน้ำดีสักเท่าไร ดังนั้นถึงแม้ถ้าผมรักษาตามทั่วไปและหมั่นทำตามคำแนะนำแต่ก็จะต้องทรมานกับผลข้างเคียงอยู่ดี และผมก็คงจากโลกนี้ไปเหมือนเพื่อนของผม

  เผชิญหน้าการท้าทาย

  ความท้าทายที่ต้องเผชิญในการรักษาโรคมะเร็ง ข้อที่ 1 แม้ว่าการผ่าตัดเป็นวิธีการหลักที่รักษามะเร็งให้หายขาด แต่การรักษาให้หายขาดนั้นไม่ได้หมายความว่า “หายขาดแล้ว” เพื่อนที่เป็นมะเร็งทั้งสองคนของผมที่กล่าวข้างต้นได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้หายขาดแต่หลังจากการผ่าตัดไม่นานก็กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำและยังแพร่กระจายไปทั่ว ที่ว่าอัตราการรอดชีวิตได้ 5 ปีมีถึง 50% หรือ 60% แล้วอีก 50% หรือ 40% ล่ะ?  ข้อที่ 2 เวลาผู้ป่วยตรวจเจอมะเร็ง ร้อยละ 70 นั้นจะไม่สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้แล้ว สำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ ควรรักษาอย่างไร? จะยังสามารถยืดชีวิตของพวกเขาได้ไหม?  ข้อที่ 3 การทำคีโมและฉายรังสีเป็นวิธีการรักษามะเร็งทั่วไป แต่ส่วนมากก็ไม่สามารถยืดอายุของผู้ป่วยได้อยู่ดี

  ทำไมมะเร็งถูกผ่าตัดออกหมดทั้งก้อนแล้วมันยังสามารถกลับเป็นซ้ำได้? เพราะว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่อยู่ทั่วร่างกาย เนื้องอกเป็นแค่ส่วนหนึ่งของมะเร็งเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น เซลล์มะเร็งก็อาจอยู่ในกระแสเลือดและไขกระดูก เซลล์มะเร็งเหล่านี้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง(Cancer stem cell)อยู่ในสภาพ“นอนหลับ”พอมีโอกาสก็“ตื่น”ขึ้นมาและเจริญเติบโตเป็นเนื้องอกก้อนใหม่ มันคือการแพร่กระจาย ซึ่งมะเร็งแพร่กระจายนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

  การรักษาด้วยคีโมคือการฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยพิษของยาเคมี โรคร้ายบางโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองต้องรักษาด้วยการทำคีโม

  แต่มะเร็งที่รักษาด้วยคีโมแล้วหายขาดมีน้อยมาก ประเมินว่ามีเพียง 7% เท่านั้น และได้ผลกับมะเร็งชนิดอื่นๆเพียง 15% ของโรคมะเร็งทั้งหมดเท่านั้น ผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากรักษาด้วยการทำคีโม แต่วิธีการรักษานี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหนล่ะ? ซุนเยี่ยน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัดประเทศจีนกล่าวว่า คีโมและการฉายรังสีไม่สามารถรักษามะเร็งทุกชนิดได้ กลับยังเพิ่มความทรมานให้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังในการให้การรักษาด้วยคีโม การทำคีโมนั้น ต้องทำให้เหมาะสม ไม่ควรทำมากเกินไป ทาง จาวหยิว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งกล่าวว่า การรักษาด้วยคีโมเป็นดาบสองคม หลังจากคีโมแล้วเซลล์มะเร็งจะดื้อยาได้ และอาจเพิ่มระดับความร้ายแรงมากขึ้น รุนรามและแพร่กระจาย การรักษาระดับโมเลกุลในปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็น“กระสุนพิเศษ” ที่รักษาได้ในระดับโมเลกุล แต่มันก็สามารถทำให้เซลล์มะเร็งที่หลงเหลือรุกรามและแพร่กระจายได้เหมือนกัน

  ปัญหาของปัจจุบันนี้คือมีการใช้คีโมมากเกินไป กรณีที่ไม่ควรทำคีโมก็สั่งทำคีโม  จากการสำรวจของคณะการแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด(Harvard University)ประเทศอเมริกาในปี 1993 ปรากฏว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 10% ก่อนเสียชีวิต 2 อาทิตย์ก็ยังเข้ารับการรักษาด้วยคีโมอยู่ ต่อมาถึงปี 1999 จำนวนนี้เพิ่มขึ้นถึง 12% จากข้อมูลสถิติอย่างไม่เป็นทางการของประเทศจีนปรากฏว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 15% เสียชีวิตเร็วขึ้นจากการคีโมที่มากเกินและไม่เหมาะสม

  กลยุทธ์ใหม่

  องค์การอนามัยโลกประกาศว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้นั้นหลังจากเข้ารับการรักษาแบบองค์รวมแล้วสามารถยืดชีวิตได้ การรักษาด้วยวิธีการสลายและการรักษาด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

  การรักษาด้วยวิธีการสลายคือเจาะเข็มความเย็นหรือความร้อนเข้ายังเนื้องอกด้วยการนำทางของอัลตร้าซาวด์หรือ CT-Scan แล้วฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยความเย็นหรือความร้อน เทคนิคการรักษาด้วยความเย็นนั้นเริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ในการรักษาอุณหภูมิจะลดลงเฉพาะบริเวณหัวเข็ม เพราะฉะนั้นมันจะทำลายที่เนื้องอกเท่านั้นและจะไม่ทำให้เนื้อเยื่ออื่นๆเสียหาย

  การรักษาสลายด้วยความเย็นนั้นส่วนมากใช้ในการรักษากำจัดมะเร็งที่ผ่าตัดไม่ได้ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ เป็นต้น หากเนื้องอกขนาดเล็กรักษาด้วยความเย็นจะได้ผลเหมือนการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยสูง การทำงานของหัวใจ ปอด ตับไม่ดี ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นยิ่งเหมาะกับการรักษาด้วยความเย็น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งก้อนใหญ่ การรักษาด้วยความเย็นนั้นสามารถลดขนาดของก้อนมะเร็งให้เล็กลง ซึ่งสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้

  เวลาทำการรักษาใช้ความเย็นหรือความร้อนในการสลายนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ที่ทำการรักษา จากประสบการณ์ของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหมื่นกว่ารายของโรงพยาบาลเรา  เราแนะนำการรักษาด้วยความเย็นด้วยเหตุผล 1.การสลายด้วยความเย็นรักษาทั้งมะเร็งขนาดเล็กและมะเร็งขนาดใหญ่ได้  2. ความเย็นไม่ทำลายหลอดเลือดใหญ่ หลอดลม เพราะฉะนั้นเนื้องอกที่ใกล้หลอดเลือดใหญ่ หลอดลมนั้นสามารรักษาด้วยความเย็นได้  3.ความเย็นทำให้อาการปวดน้อยลง ความเย็นแก้ปวดได้ 4.เซลล์มะเร็งที่ตายจากความเย็นนั้นจะปล่อยสารแอนติเจน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับมะเร็ง จากการรักษาปรากฏว่าเนื้องอกหลังจากถูกความเย็นทำลายแล้ว ส่วนที่หลงเหลือจะหายไปด้วย นี่คือผลของความเย็นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

  การรักษาสร้างภูมิคุ้มกันคือการเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ภูมิคุ้มกันในทั่วร่างกาย เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่ตกค้างหรือหลบในร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียง “นิตยสารการแพทย์อังกฤษฉบับใหม่”นิตยสารขึ้นชื่อทั่วโลกในปี 2008 รายงานว่า ผู้ป่วยอเมริกาเพศชายวัย 52 ปี เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

  ที่กลับมาเป็นซ้ำและกระจายไปยังปอดขวา เยื่อหุ้มปอด กระดูกเชิงกรานส่วนขวา บริเวณขาหนีบ วิธีการรักษาต่างๆไม่ได้ผลทั้งหมด  ผู้เขียนได้ทำการสกัดเซลล์ภูมิคุ้มกันจากกระแสเลือดผู้ป่วยหลังจากนั้นกระตุ้น T cell ด้วยแอนติเจนพิเศษแล้วฉีดกลับสู่ร่างกายของผู้ป่วย หลังจากนั้นผ่านไป 2 เดือน มะเร็งในปอดและมะเร็งที่แพร่กระจายหายไปหมด หลังจากผ่านไป 26 เดือนผลตรวจไม่พบการกลับมาเป็นซ้ำ  ผู้เขียนเคยรักษาผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาท่านหนึ่งด้วยวิธีการสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยท่านนี้รอดชีวิตได้ 13 ปี ซึ่งรอดชีวิตได้เวลานานกว่าผู้ป่วยอเมริกาที่กล่าวข้างบน

  ปัจจุบันนี้มีความเห็นว่าวิธีการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันนั้นสามารถรักษามะเร็งหายขาดได้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ควรปฎิบัติตามดังนี้ 1.ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยสร้างภูมิคุ้มกันต้องเข้ารับการตรวจเซลล์ภูมิคุ้มกันและไซโตไคน์(Cytokines)เพื่อเลือกวิธีการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม  2. ต้องเข้ารับการรักษาด้วยคีโมระยะสั้น โดยใช้ยาไซโคลฟอสฟาไมด์(cyclophosphamide)ปริมาณน้อยอย่างน้อย1-2 ครั้ง เพราะในกระแสเลือดมี T cell สามารถปรับและยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดที่ทำลายเซลล์มะเร็ง การให้คีโมนั้นสามารถฆ่าเซลล์เหล่านี้ได้ 3.ต้องใช้วิธีการหลายวิธีพร้อมกันหรือใช้วิธีการตามลำดับในการรักษา เพราะเซลล์มะเร็งมีหลากหลายชนิด ยินส์ของเซลล์มะเร็งไม่มั่นคง เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอด  เพราะฉะนั้นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ต่อสู้กับเซลล์มะเร็งนั้นต้องมีปริมาณมากมายและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ 4.ต้องทำการรักษาในระยะเวลายาว

  แนวคิดใหม่

  โรคมะเร็งเป็น “โรคเรื้อรัง” การฆ่าเซลล์มะเร็งให้หมดทุกเซลล์นั้นเป็นไปไม่ได้ การตัดเนื้องอกเฉพาะส่วนออกนั้นยังไม่พอ เป้าหมายของการรักษาคือยืดชีวิตให้ผู้ป่วย เพราะฉะนั้น ข้อแรก หลังจากการผ่าตัดแล้วต้องป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงหยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มองโลกในแง่ดี รักษาอาการอักเสบ รับประทานผักผลไม้มากๆ คอยตรวจและเฝ้าระวังสภาพของภูมิคุ้มกัน ปรับแก้ไขเวลาเกิดความผิดปกติ ข้อที่สอง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้นั้น สามารถใช้เทคนิคการรักษาด้วยความเย็นเพื่อลดขนาดและปริมาณเนื้องอกพร้อมรักษาทั่วร่ายกาย เช่น การให้คีโมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ตอบสนอง การรักษาสร้างภูมิคัมกัน ข้อที่สามสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย ไม่ควรฝากความหวังไว้กับยาตัวเดียว วิธีการรักษาวิธีเดียวหรือหมอของแผนกเดียว ต้องรักษาตามอาการของแต่ละบุคคลด้วยวิธีการต่างๆ ข้อที่สี่ การรักษาต่างๆนั้นต้องเหมาะสมพอดี สมาคมมะเร็งของประเทศอเมริกาประกาศว่า สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การรักษาตามอาการสามารถยืดชีวิตได้ แต่คีโมยืดชีวิตไม่ได้

  ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด  ตามประสบการณ์ของเรา คือ 1.รักษาด้วยความเย็นโดยใช้ CT หรืออัลตร้าซาวด์ในการนำทาง  2.หากผู้ป่วยไม่เคยรักษาด้วยคีโมและวิเคราะห์ว่าผู้ป่วยเหมาะต่อคีโม จะแนะนำการรักษาด้วยคีโมก่อนหรือหลังเข้ารับการรักษาด้วยความเย็น 3.ตรวจยีน หากผลตรวจมีข้อบ่งชี้แน่ชัด ให้รักษาระดับโมเลกุล 4.หากผู้ป่วยเคยรักษาด้วยคีโมแล้ว สามารถเข้ารับการรักษาโดยการแทรกแซงหลอดเลือด(การฉีดยาคีโมเข้าเฉพาะจุด การอุดเส้นเลือด การฉีดยาเข้ายังเส้นเลือดฝอยของเนื้องอกโดยตรง)5.รักษาโดยการสร้างภูมิคุ้มกันมะเร็งเรื้อรังหรือกลับเป็นซ้ำได้

  เราใช้การรักษาด้วยความเย็น (CSA) การรักษาโดยแทรกแซงเส้นเลือดฝอยเนื้องอก (CMI)การรักษาสร้างภูมิคุ้มกันแบบองค์รวม (CIC)ร่วมกับรักษาตามอาการของแต่ละบุคคล(P)นี่คือรูปแบบกรรักษา“3C+P” ประสบการณ์จากการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหมื่นกว่ารายนั้นแสดงว่า รูปแบบกรรักษา“3C+P” สามารถช่วย 70% ของผู้ป่วยมะเร็งระยะกลาง ระยะสุดท้ายรวมถึงผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการทั่วไปแล้วไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำให้อาการดีขึ้น ยืดชีวิต และรักษาผู้ป่วยบางส่วนให้ใกล้หายขาดได้อีกด้วย สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนกลาง มะเร็งตับก้อนใหญ่นั้นก็ได้ผลดีเหมือนกัน  มะเร็งตับอ่อนเป็นเนื้อร้ายที่แพร่กระจายเร็วสุด จากการบันทึกของโลกระบุว่าผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยผ่าตัดนั้น อัตราการรอดชีวิตใน 1 ปีน้อยกว่า10% ซึ่งรอดชีวิตได้ 3-6 เดือนด้วยสภาพมะเร็งไม่เรื้อรัง แต่ผู้ป่วยจำนวน 300 กว่าท่านของเราหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยรูปแบบ“3C+P” แล้วอัตราการรอดชีวิตได้ 1 ปี มีถึง 60% และ อัตราการรอดชีวิตได้ 3 ปี มีถึง 15% อีกทั้งผู้ป่วยบางท่านยังรอดชีวิตได้ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองในการประชุมสากลด้านการแพทย์อุณหภูมิต่ำที่จัดขึ้นในเมืองโตเกียวเมี่อปี 2008 และในเมืองเวียนนาเมื่อปี 2011

  ตอนส่งท้าย

  ผู้เขี่ยวชาญโรคมะเร็งชาวอเมริกาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า  การรักษามะเร็งในอนาคตจะต้องอาศัยการรักษาตามอาการแต่ละบุคคล ซึ่งต้องเปลี่ยนระบบการแพทย์ของเรา ไม่ใช่ใช้วิธีรักษาวิธีเดียวรักษาผู้ป่วยทุกคน ต้องรักษาตามอาการของแต่ละบุคคลด้วยวิธีการรักษาที่เหมาะสมหรือวิธีการหลายวิธีร่วมกัน นี่คือความหวังของการรักษามะเร็งให้หายขาด

  ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ผมปรารถนาจะรักษาผู้ป่วยด้วยความรู้ที่ถูกต้อง ให้เกิดผลดีที่สุด และยืดชีวิตของผู้ป่วยได้ ในฐานะผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผมปรารถนาให้แพทย์ของเรารักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีที่สุด ให้เจ็บน้อยทีสุด ให้รอดชีวิตได้นานที่สุด หมอมะเร็งส่วนมากเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี ผมเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เป็นหนึ่งในนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งของเราได้รับผลที่ดีจริงๆ ผมหวังว่าการแพทย์ปัจจุบันจะมีการปฏิรูป ซึ่งไม่เพียงแต่รับประกันให้ผู้ป่วยได้รักษาตามมาตรฐานและสามารถเข้าถึงได้ ยังผลักดันให้หมอทุกคนตั้งใจประเมินคุณค่าที่แท้จริงของวิธีการรักษาต่างๆอีกด้วย

  

434-.jpg

  ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง

  เขียนวันที่ 12 พฤษภาคม ปี 2013


  ผู้เขียน  ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจว ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและด้านการรักษามะเร็ง หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญของแผนกมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ ประธานของสมาคมการฟื้นฟูจากโรคมะเร็ง--แสงสว่างแห่งชีวิตของมณฑลกวางตุ้ง ผู้ก่อตั้งสำนักงานสวีเค่อเฉิงดูแลสุขภาพแห่งมณฑลกวางตุ้ง ผู้อํานวยการกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิจัยชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยจี้หนาน รองประธานรุ่นที่สองของสามาคมการแพทย์แห่งมณฑลกวางตุ้ง ผู้ได้รับรางวัล "Bethune "รางวัลเกียรติยศสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุขแห่งชาติในปี 2012 เป็น "บุคคลต้นแบบแห่งยุค" ในปี 2014 ประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมการรักษาด้วยความเย็นสากล เป็นนิติบุคคล และประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมการรักษาด้วยความเย็นเอเชีย ได้รับรางวัลด้านการแพทย์ความเย็นสากลหลายครั้ง ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้มีส่วนร่วมชั้นนำของโลกด้านการรักษาด้วยความเย็น” โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นผลงานดีเด่นระดับโลกในด้านเทคโนโลยีการรักษาด้วยความเย็น




  ปรึกษาโรคมะเร็ง

  หากคุณต้องการทราบว่าผู้ป่วยเหมาะสำหรับการรักษาแบบบาดแผลเล็กหรือไม่ (การรักษาด้วยความเย็น  การรักษาด้วยมีดนาโน  การรักษาเฉพาะจุดแบบอุดตันเส้นเลือด ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการรักษา  กรุณากรอกข้อมูลผู้ป่วย เพื่อรับคำแนะนำจากทีมแพทย์มะเร็งผู้เชี่ยวชาญของเรา


รับคำแนะนำจากแพทย์

  

วิดีโอสัมภาษณ์ผู้ป่วย
แนะนำโรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า
  • โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า กว่างโจว ประเทศจีน ได้ทำการเปิดบริการอีกครั้งให้กับคนไทยหลังเจอประสบการณ์โควิด-19 ร่วมระยะเวลา 3 ปี!
    โดยมีเทคนิควิธีการรักษาที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง
    ปรึกษามะเร็งฟรี!
    เพิ่มเติม
  • ก่อนหน้านี้คุณณัฐกานต์ได้คลำที่บริเวณเต้านมแล้วพบก้อนเนื้อ เลยปรึกษากับคุณหมอว่ามีทางเลือกอย่างใดบ้าง คุณณัฐกานต์ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เคยผ่าตัดแบบสงวนเต้าที่ประเทศไทย แต่ไม่ได้ครอบคลุมมะเร็งทั้งหมด เพราะฉะนั้นจะต้องผ่าตัดอีกครั้ง ทางแพทย์แจ้งว่าถ้าผ่าตัดครั้งต่อไปจะผ่าตัดโดยไม่วางยาสลบ คุณณัฐกานต์คาดว่าน่าจะเจ็บปวดจากการรักษา เลยไม่ได้ตัดสินใจไปรักษาต่อ..
    เพิ่มเติม
  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทยวัย 80 ปี เมื่อ 5 ปีที่แล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด และคุณหมอที่ไทยแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด แต่จะต้องทำการตัดปอดขวาทิ้งไปราวๆ 2 ใน 3 ส่วนของปอด ทางคนไข้และญาติๆคาดว่าเนื่องจากผู้ป่วยอายุมากแล้ว หากเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยจะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า และอาจจะมีผลต่อการใช้ชีวิตต่อไป จึงตัดสินใจเดินทางเข้ารับการรักษาด้วยการจี้สลายเนื้องอกด้วยความเย็นที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า กว่างโจว ปัจจุบันนับเป็นปีที่ 5 แล้วที่เขาใช้ชีวิตต่อมาได้อย่างปกติ..
    เพิ่มเติม
โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้าในสังกัดของมหาวิทยาลัยจี้หนาน เป็นโรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ ได้รับรองมาตรฐาน JCI ในระดับนานาชาติ และนับเป็นโรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางสูงสุดของประเทศจีน ในฐานะโรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางนานาชาติ ฟูด้ามีแนวคิดการรักษาที่ไม่เหมือนใคร เราคิดเสมอว่าการรักษาคือการทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถยืดชีวิตของผู้ป่วยได้นานขึ้น โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ายังมีแนวทางการรักษาใหม่ๆในระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยมีดนาโน การรักษาด้วยความเย็น และการรักษาอื่นๆอีกกว่า 20 แบบ เป็นต้น ทางโรงพยาบาลได้รับรักษาผู้ป่วยจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก........
เพิ่มเติม
ผู้ป่วยของฟูด้านั้นเดินทางมากจากหลายประเทศทั่วโลก
ตั้งแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจวได้รับดูแลผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าได้รับความมั่นใจจากผู้ป่วยทั่วทั้งโลก
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเรา
  • ศ.นพ.สวีเค่อเฉิง
    • หัวหน้าแพทย์
    • หัวหน้าแพทย์อาจารย์ให้คำปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • ศ.นพ.หนิวลี่จื้อ
    • หัวหน้าแพทย์
    • รองผู้อำนวยการของโรงพยาบาล
    • ประธานโรงพยาบาลฟูด้า
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • ศ.นพ.เจิงจงยวน หัวหน้าแพทย์
    • หัวหน้าแพทย์
    • ศาสตราจารย์
    • ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับทุนพิเศษจากสภาแห่งรัฐ
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • รอง ศ.นพ.เผียวเชี่ยงฮ่าว
    • รองศาสตราจารย์
    • ผู้อำนวยการบำบัด
    • ผู้เชี่ยวชาญจบการรักษาแบบเปิดแผลเล็กจากญี่ปุ่น
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • นพ.หลิวซู่เผิง
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • นพ.หลงซินอัน
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • หัวหน้าเทคนิคการแพทย์ หลี่หลงหลง
    • หัวหน้าเทคนิคการแพทย์
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค
    นัดหมาย
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
ข้อมูลที่ท่านส่งเข้ามาจะเป็นความลับ ผู้เชี่ยวชาญของเราจะตอบคำถามของท่านและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ท่าน กรุณารอรับโทรศัพท์และอีเมล
เบอร์ติดต่อ: 094-221-1169
ฉันยินยอมที่จะส่งข้อมูล
การรักษาแบบพิเศษของพวกเรา
การรักษาแบบพิเศษกว่า 20 วิธี ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
การรักษาด้วยความเย็น (Cryosurgical Ablation, CSA)
ในปี 1998 การรักษาด้วยความเย็นได้ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และ SDA ของประเทศจีนในปี 1999 จีนนับเป็นประเทศต้นๆของโลกริเริ่มการรักษาด้วยความเย็น โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้ากว่างโจวได้นำเทคนิคการรักษาด้วยความเย็นเข้ามาใช้ในปี 2000 จนถึงปี 2015 ได้รักษาผู้ป่วยไปแล้วกว่า 10000 ราย ใน 30 โรคนับเป็นจำนวนที่มากที่สุดในโลกและในประเทศจีนแ..
การรักษาด้วยมีดนาโน (IRE)
ระบบการรักษาเนื้องอกด้วยมีดนาโน เป็นเทคนิคการสลายเนื้องอกแบบใหม่ที่ไม่ใช้ความร้อน แต่ใช้ Irreversible Electroporation (IRE) ซึ่งใช้คลื่นความต่างศักย์ในการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็ง จนทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งเกิดทะลุเป็นรู เซลล์มะเร็งจะเหี่ยวฉาวจนตายในที่สุด..
การรักษาด้วยการให้ยาผ่านทางเส้นเลือด
การเจริญเติบโตของเนื้องอกนั้นขึ้นอยู่กับเส้นเลือดที่ส่งสารอาหารและออกซิเจนเข้าไปยังเนื้องอก เส้นเลือดภายในเนื้องอกนั้นมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก การกำจัดเส้นเลือดของเนื้องอกนั้นสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเนื้องอกได้ การฉีดยาคีโมหรือสารอุดตันเส้นเลือดเข้าไปยังเส้นเลือดบริเวณหรือในเนื้องอกนั้น นอกจากจะช่วยให้เส้นเลือดอุดตัน ยังช..
การรักษาโดยสร้างภูมิคุ้มกันแบบองค์รวม
สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ การตรวจสอบภูมิคุ้มกันและภูมิคุ้มกันของเนื้องอกได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เทคนิคใหม่การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเซลล็ในการต่อต้านมะเร็งนั้นเริ่มมีขึ้นมาและได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและหัวหน้าบรรณาธิการโรคมะเร็งชาวอเมริกันกล่าวว่า “การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันนั้นอาจจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษามะเร็งได้อย่างหมด..
การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุผ่านทางผิวหนัง
เมื่อปล่อยไฟฟ้ากระแสสลับจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผ่านเข้าไปในเข็ม ซึ่งส่วนปลายเข็มเป็นขั้วไฟฟ้า และใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากเครื่องทำให้เกิดคลื่นความถี่สูง จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเยื่อรอบๆ เข็มสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน ซึ่งจะแผ่กระจายออกไปรอบๆจนครอบคลุมก้อนมะเร็งทั้งก้อน จากการศึกษาพบว่าความร้อนที่มากกว่า 60 องศาเซลเซียสสามารถทำให้เซลล์ตายได้..
การรักษาด้วยเครื่องอบความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ
ไมโครเวฟเป็นชื่อทั่วไปของ คลื่นเดซิเบล คลื่นเซนติเมตร และคลื่นมิลลิเมตร และเป็นคลื่นที่มีความสามารถในการเจาะ ทฤษฎีพื้นฐานของการรักษาด้วยความร้อนของคลื่นไมโครเวฟที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้:เซลล์มะเร็งมีความอดทนต่ออุณหภูมิน้อยกว่าเซลล์ปกติการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายลง ในขณะที่เซลล์ปกติยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้..
การรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ
การผ่าตัดนั้นเป็นการรักษาแบบดั้งเดิมของการรักษาโรคมะเร็ง แต่มีผู้ป่วยหลายท่านได้สูญเสียโอกาสในการเข้ารับการผ่าตัดเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้จึงได้เกิดการวิจัยวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยคลื่นไมโครเวฟขึ้น เพื่อตอบสองและช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้..
ศึกษาเพิ่มเติม
พวกเขาได้รับชีวิตใหม่จากที่นี่
  • คุณสุวัฒน์ จากประเทศไทย
    ผู้ป่วยมะเร็งปอด รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 6 ปี
  • คุณกัวหลิน จากประเทศเดนมาร์ก
    ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย
  • คุณ Shelly Mahara จากประเทศอินโดนีเซีย
    ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 14 ปี
  • คุณ Amy จากประเทศฮ่องกง
    ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย รอดชีวิตได้จนปัจจุบัน 10 ปี
เรื่องราวของผู้ป่วยเพิ่มเติม
ข่าวสารมะเร็ง
“มะเร็งตับระยะลุกลาม” กลายเป็นเนื้องอกในตับไม่ร้ายแรง! คนไข้ชาวอินโดนีเซียวัย 32 ปี ฟื้นตัวหายดีในกวางโจวได้แล้ว
2024-04-24
  • 04 / 18
    2024
    ท้องใหญ่เท่าคนท้อง! เนื้องอกขนาดใหญ่หนัก 3.6 โล ก้อนมะเร็งสามารถเอาออกได้สำเร็จ
  • 04 / 10
    2024
    เซลล์มะเร็งยังมีอยู่แต่คนไข้ไม่มีความทุกข์ทรมาน – สิ่งสำคัญสามประการในการอยู่สงบกับโรคมะเร็ง
  • 04 / 07
    2024
    ผลงานวิจัยในการรักษามะเร็งเต้านมใหม่ล่าสุดในปี 2023
ข่าวเพิ่มเติม
  • โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
  • ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
  • ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ